แม่หมีรีวิว

ทางม้าลาย ประวัติและที่มา ทำไมถึงชื่อว่าม้าลาย

จากเหตุการณ์ที่ “หมอกระต่าย” แพทย์หญิงวราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล ถูกบิ๊กไบค์ชนระหว่างเดินข้าม ทางม้าลาย และคุณหมอได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา

ซึ่งหมอกระต่าย เป็นจักษุแพทย์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งยังเป็นคุณหมอที่อยู่ในสาขาที่ขาดแคลน

ด้วยหน้าที่งานของคุณหมอ จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยทางตาได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งในประเทศมีคนเรียนสาขาจอตา เพียงแค่ประมาณหนึ่งร้อยกว่าคน

และสาขาม่านตาอักเสบ ที่มีคุณหมอจบทางนี้มาไม่ถึง 50 คนเสียด้วยซ้ำ ซึ่งถือว่าเป็นการสูญเสียคุณหมอฝีมือดีที่มีโอกาสจะช่วยเหลือคนได้อีกมากมาย

หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ได้เป็นการปลุกกระแสสร้างความปลอดภัยบริเวณทางข้ามมากขึ้น อีกทั้งยังมีการเปิดเผยสถิติ ที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบนทางม้าลายมาเรื่อย ๆ

ซึ่งหลาย ๆ คนต่างร่วมแสดงจุดยืนอยากให้ประชาชนทุก ๆ คน เคารพกฎหมาย และกติกาจราจร เพื่อความปลอดภัย ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน ให้ถือว่าทำเพื่อส่วนรวม

โครงการ รณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุบริเวณทางข้าม

เปิดตัวโครงการรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุบริเวณทางข้าม (ทางม้าลาย) จันทบุรี

โครงการถูกจัดขึ้นเพื่อลดอุบัติเหตุตรงทางข้าม เพราะไม่อยากให้อุบัติเหตุซ้ำรอยแบบในกรณีของคุณหมอกระต่าย ดังนั้น ร.ต.อ.กนก มั่นศรี รอง.สวป.สภ.ท่าใหม่

ร้อยเวร 20 สายตรวจรถยนต์ จราจร ว.4 ร่วม ศ.อบถ.จว.จันทบุรี สำรวจทางข้าม เพื่อปรับปรุงใหม่ (ทาสี) ในโครงการนี้ และในวันที่ วันที่ 17 มีนาคม 2565

ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายสุธี ทองแย้ม เป็นประธานในการเปิดทางข้าม ในโครงการ รณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุบริเวณทางข้าม

ได้จัดกิจกรรมการทาสีทางข้าม ร่วมกับคณะครูและนักเรียน โรงเรียนยอแซฟวิทยา โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีได้เน้นในเรื่องของความปลอดภัย

อยากให้ทุกคนมีระเบียบวินัย เคารพและปฏิบัติตามกฎจราจร เพื่อป้องกันปัญหาอุบัติเหตุบริเวณทางข้าม โดยได้ประสานงานกับทางนางยกเทศมนตรีอำเภอท่าใหม่

นายธวัชชัย สวัสดิชัย ให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ภายในอำเภอท่าใหม่ เป็นการกระตุ้นจิตสำนึก และตระหนักถึงความปลอดภัยบนท้องถนนอีกด้วย

เด็กเดินข้าม ทางม้าลาย

กว่าจะมาเป็น ทางม้าลาย

Pedestrian Crossing เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1934 ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่ง ณ เวลานั้นยังไม่มีชื่อเรียกเฉพาะเจาะจงอย่างเป็นทางการ ลักษณะเป็นเส้นตรงสลับช่องในแนวขวา

แรก ๆ มีการทดลองใช้สีอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเส้นสีน้ำเงินสลับสีเหลือง หรือสีขาวสลับสีแดง และเมื่อในปี ค.ศ.1951 ถูกปรับมาให้เป็นสีเดียวกันทั้งหมดคือสีขาวสลับดำ

พร้อมตั้งชื่อให้เป็น Zebra Crossing นั่นคือที่มาของ ทางม้าลาย นั่นเอง ก่อนจะเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่านอกจากการใช้สีขาวสลับดำแล้ว

บางแห่งยังเป็นลวดลายหลากหลายสี บางแห่งครีเอทมากเป็นรูปภาพแบบ 3 มิติกันก็มี แต่ที่เด็ดกว่าคือแบบดิจิทัล ในส่วนของประเทศญี่ปุ่น ได้นำเทคโนโลยี

แบบโฮโลแกรม โดยฝังอุปกรณ์ลงบนพื้นถนน เมื่อมีคนเดินข้ามถนน อุปกรณ์นั่นจะยิงแสงขึ้นมาเป็นกราฟฟิกขวางรถไว้ทันที เรียกว่าไกลแค่ไหนต้องมองเห็น

ทางม้าลายในเมืองไทย

ในส่วนที่ประเทศอังกฤษนั่น ใช้เทคโนโลยีต้นแบบ Starling Crossing โดยทำการเปลี่ยนผิวถนนมาเป็นจอ Interactive และมีระบบการทำงานร่วมกับกล้อง

ที่ติดไว้บนเซนเซอร์ พร้อมอุปกรณ์ที่ฝังลงไปในดิน เมื่อถึงเวลาข้ามถนน กราฟฟิคต่าง ๆ จะลอยโดดเด่นขึ้น ถือว่ามีความคิดสร้างสรรค์ในการเพิ่มความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี

และถ้าเมื่อใช้เทคโนโลยีแบบสวยงาม ๆ แล้วยังไม่ยอมหยุดให้คนข้ามดี ๆ อีกละก็นะ มาดูที่ประเทศแคนาดา เมื่อถึงเวลาที่ต้องข้ามถนน จะมีแผ่นวัตถุเด้งขึ้นมา

เป็นรั้วกั้นให้คนเดินข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย ยังจะชนคนตอนข้ามถนนอีกให้มันรู้กันไป ในส่วนของประเทศจีน ถ้าคุณไม่ยอมจอดรถให้คนข้ามถนนเมื่อไหร่แล้วนั้น

กล้องตรงนั้นจะทำการบันทึกหน้าตาคุณไว้ชัดเจนแน่นอน ซึ่งกล้องที่ใช้ AI ตรวจจับใบหน้า พร้อมนำภาพขึ้นบนจอมอนิเตอร์ใหญ่ยักษ์ประจานกันตรงนั้นให้รู้แล้วรู้รอด

และมีการหักคะแนน Social Credit อีกด้วย เราว่ากฎหมายแบบนี้ซิดีเลิศ คนทำไม่ดีต้องถูกพระลงโทษ แบบที่ป้ารัตนาได้กล่าวไว้นั่นเอง

ทางม้าลาย ต่างประเทศ

กฎหมายทางข้ามที่ผู้ใช้รถใช้ถนนควรรู้

หลายคนอาจจะหลง ๆ ลืม ๆ เกี่ยวกับกฏหมายที่เราต้องรู้ ถ้ามีคนต้องการข้าม ทางม้าลาย รถจำเป็นต้องชะลอและหยุดห่างจากจุดข้ามอย่างน้อย 3 เมตร

เพื่อให้คนข้ามถนนให้หมด หรือหมดระยะเวลาสัญญาณไฟนั่นเอง  ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 152 กำหนดอัตราโทษ

สำหรับการขับขี่รถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะมากน้อยแค่ไหน มีโทษปรับไม่เกิน 1 พันบาท หากมีการขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่น

ภายในระยะทาง 30 เมตร ก่อนจะถึง ทางม้าลาย ถ้าอยู่ในเขตปลอดภัยหรือเข้าที่คับขัน ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 400 – 1,000 บาท หากผู้ถูกชนได้รับบาดเจ็บ

หรือมีกรณีการเสียชีวิต จะได้รับความผิดเพิ่มอีกด้วย แต่ในกรณีที่ผู้ข้ามถนนไม่ได้อยู่บนทางข้าม ตามมาตรา 104 บัญญติไว้ว่า ภายในระยะทาง 100 เมตร

วัดจากตรงทางข้าม ห้ามไม่ให้เดินข้ามถนน นอกจากบริเวณทางข้ามเท่านั้น และมาตรา 147 ระบุไว้อีกว่า หากใครฝ่าฝืนหรือไม่ทำตามมาตรา 104 ต้องระวางโทษ

ปรับไม่เกิน 200 บาท และถ้าในกรณีข้ามมาแล้ว ถูกรถชน ผู้ที่ทำการข้ามถนนโดยที่ไม่อยู่บนทางข้ามที่กำหนด มีความผิดร่วม เพื่อน ๆ ควรศึกษากฏหมายไว้ด้วยนะ

อยากให้ทั้งผู้ขับขี่และผู้ข้ามถนน ตระหนักถึงความปลอดภัยให้มาก ๆ จะได้ไม่มีเหตุการณ์ความสูญเสียใด ๆ เกิดขึ้น ปลอดภัยไว้ก่อน ด้วยความปรารถดีจากแม่หมีเองจ้า