ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ราชินีแห่งอังกฤษ สตรีผู้มีบทบาทต่อประวัติศาสตร์โลก
ควีนเอลิซาเบธที่ 2 สวรรคตแล้ว รัชสมัยที่ยาวนานของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้จบลง พระองค์ทรงอุทิศพระชนมชีพเพื่อการปฏิบัติ
พระราชภารกิจต่อราชบัลลังก์และต่อพสกนิกร ทั้งในสหราชอาณาจักรและประเทศเครือจักรภพ ในวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา ได้แถลงการณ์ว่าควีนเอลิซาเบธที่ 2
ต้องทรงได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพพลานามัยของพระองค์ โดยมีข่าววงในจากเลดี้ซี ออกมาพูดผ่านทางช่องยูทูปของเธอ
ว่าควีนป่วยมานานกว่า 3 ปีแล้ว ทรมานด้วยโรคมะเร็งกระดูก
พระราชประวัติ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
ขออนุญาตเล่าเป็นภาษาสามัญนะ เมื่อปี 1926 เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อเล็กซานดรา แมรี วินด์เซอร์ ทรงประสูติ (เกิด)เมื่อวันที่ 21 เมษายน
เป็นพระธิดาพระองค์โตในเจ้าชายอัลเบิร์ต ดยุคแห่งยอร์ก ซึ่งเป็นรัชทายาทลำดับที่ 2 มีพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระอัยกา (ปู่หรือตา)
เจ้าหญิงทรงได้รับการศึกษาอยู่ภายในตำหนักที่ประทับ เลยได้อยู่ใกล้ชิดกับพระบิดา พระมารดา และพระอัยกา เติบโตขึ้นในบรรยากาศแบบครอบครัวมินิมอล
ในสมัยนั้นได้มีการจัดหน่วยเนตรนารีหมู่พิเศษโดยมีเจ้าหญิงและเด็กหญิงวัยเดียวกัน เนตรนารีหมู่พิเศษนี้อยู่ภายในพระราชวังบักกิงแฮม
เจ้าหญิงเก่งในเรื่องของภาษาต่างประเทศหลายภาษาเลยทีเดียว มีความรู้ด้านประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญด้วย เจ้าหญิงเอลิซาเบธนั้นมีความเป็นผู้นำ
เด่นเกินเด็ก ๆ ในวัยเดียวกัน เมื่อพระอัยกาของเจ้าหญิงเสด็จสวรรคตเมื่อปี 1963 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 เสด็จขึ้นครองราชย์ หลังจากนั้นไม่ถึง 1 ปี
กษัตริย์ได้ตัดสินใจสละราชสมบัติเพื่อไปสมรสกับนางวอลลิส ซิมป์สัน หญิงม่ายชาวอเมริกา ดังนั้นพระบิดาของเจ้าหญิงจึงต้องขึ้นครองราชย์
แบบกระทันหัน เป็นพระเจ้าจอร์จที่ 6 ช่วงนั้นยุโรปมีความตึงเครียดขัดแยงจากหลาย ๆ ด้าน ก่อนจะกลายมาเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1
เมื่อเจ้าหญิงมีพระชนมายุ (อายุ) 13 ชันษา ได้ไปเยือนวิทยาลัยราชนาวีที่เมืองดาร์ตมัธ โดยมีนักเรียนนายเรืออย่างเจ้าชายฟิลิปแห่งกรีซเป็นผู้นำเสด็จ
เดินดูในบริเวณวิทยาลัย ทั้ง 2 พระองค์ได้ติดต่อกันทางจดหมายและสานสัมพันธ์มาเรื่อย ๆหลังจากผ่านสงครามโลกครั้งที่ 1 มาได้ พอมาถึงสงครามโลกครั้งที่ 2
เจ้าหญิงทรงได้สัมผัสชีวิตนอกวังเป็นครั้งแรก ได้สัมผัสถึงความลำบากของประชาชน พลเมืองของสหราชอาณาจักร อีกทั้งเจ้าหญิงทรงอาสาเข้าร่วมรับใช้ดินแดนพิเศษ
โดยทำหน้าที่เป็นช่างซ่อมบำรุงรถบรรทุก เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้คนต่างมาร่วมฉลองที่หน้าวังบักกิงแฮม เพื่อเฉลิมฉลองที่สงครามได้สงบลง
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เคยเสด็จมาที่ประเทศไทย
เมื่อปี พ.ศ. 2515 ตั้งแต่สมัยของรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2539 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พร้อมด้วยเจ้าชายฟิลิปเสด็จพระราชดำเนินเยือน ประเทศไทยอีกครั้ง
ซึ่งครั้งนี้มาเนื่องในโอกาสปีกาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เป็นระยะเวลา 5 วัน ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2539 นอกจากนั้น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
และเจ้าชายฟิลิปยังไปทรงงานในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน การทหาร การวิชาการ และด้านการค้า อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ยังเสด็จไปเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 อีกด้วย
ควีนเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคต
ในช่วงบ่ายของวันที่ 8 กันยายน 2022 หรือ 00.31 น. ของวันที่ 9 กันยายน 2565 ตามเวลาของประเทศไทย พระราชวังบักกิงแฮม
ได้แถลงข่าวอย่างเป็นทางการว่า สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคต ณ พระตำหนักบัลมอรัลในสกอตแลนด์
ในขณะมีพระชนมายุ 96 พรรษา หลังมีแถลงการณ์ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และพระชายา ได้เสด็จไปถึงพระตำหนักบัลมอรัล เพื่อเข้าเฝ้าควีนเอลิซาเบธ
นอกจากนี้ยังมี เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแฮร์รี่ และสมาชิกพระราชวงศ์อังกฤษอีกหลายพระองค์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังพระตำหนักที่สกอตแลนด์เช่นกัน
ต่อไปจากนี้ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส จะขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ของสหราชอาณาจักรต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ผู้เป็นพระมารดา
โดยมีผลทันที รัฐบาลอังกฤษประกาศไว้อาลัยต่อการเสด็จสวรรคตสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นเวลา 10 วัน มีการลดธงลงครึ่งเสาทั่วสหราชอาณาจักร
แฟชั่น ของราชินีอังกฤษ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
หลาย ๆ คนจะได้จนจำควีนเอลิซาเบธที่ 2 ในภาพชุดที่ใส่เสื้อผ้าสีสันสดใด ทำไมพระองค์ท่านถึงชอบใส่เสื้อผ้า ฉลองพระองค์ที่สีสันสดใสแบบที่เรา ๆ
เห็นกันล่ะ ช่างฉลองพระองค์ได้ออกมาตอบคำถามแล้วว่าทำไม เนื่องจากเวลาพระองค์เสด็จไปไหน จะต้องมีประชาชนหนาแน่นมาออกรอรับเสด็จ
ประชาชนจะได้เห็นพระองค์อย่างชัดเจนอย่างไรล่ะ ซึ่งชุดฉลองพระองค์ที่เห็นนั้นจะมีแต่ชุดกระโปรง ชุดเดรส แต่จะมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ช่างภาพสามารถถ่ายรูปขณะที่พระองค์ใส่กางเกงในงานทางการ ครั้งนั้นควียนเอลิซาเบธทรงเสด็จเยือดประเทศแคนาดา เมื่อปี 1970
ยังมีอีกอย่างที่พระองค์จะพกพาไปไหนมาไหนด้วยตลอดนั่นคือ ร่ม พระองค์จะปรากฏตัวพร้อมร่ม ที่มีเฉดสีเดียวกับชุดที่ทรงสวมใส่
โดยร่มที่พระองค์ใช้มาตลอด 15 ปี เป็นฝีมือการสร้างสรรค์ของบริษัท Fulton อีกทั้งพระองค์ยังทรงถือกระเป๋าสีดำขลับ ขนาดถนัดมือใบเดิม
มานานกว่า 50 ปีแล้ว เรียกได้ว่าหลาย ๆ คนเห็นกระเป๋าใบนี้มาตลอดกว่า 5 ทศวรรษ ซึ่งเป็นผลงานของ Launer แบรนด์โปรดของพระองค์นั่นเอง
อย่าลืมพระมาลา หรือหมวกที่พระองค์สวมใส่เสมอ ซึ่งราชวงศ์อังกฤษนับว่าพระมาลาเป็นเครื่องประดับที่มีความสำคัญ เพราะธรรมเนียม
การสวมหมวกของชนชั้นสูง เป็นประเพณีที่มีมาช้านาน หมวกของพระองค์มีขนาดปีกที่ไม่กว้างจนเกินไป เพราะปีกหมวกจะได้ไม่ไปบดบัง
พระพักต์ของพระองค์ แต่ถ้าต้องไปขับรถ หรือขี่ม้าจะเปลี่ยนมาเป็นสวมผ้าโพกหัวแทน ซึ่งเป็นของยี่ห้อ Hermès เท่านั้นด้วย
กฎการแต่งตัวข้อหนึ่ง บอกไว้ว่า ต้องแต่งตัวให้มิดชิด เรียบร้อย ดังนั้นเราจะไม่เคยเห็นพระองค์ใส่ชุดที่กระโปรงสูงกว่าหัวเข่าเลยนั่นเอง