ตะคริว คืออะไร มีอาการแบบไหน สาเหตุเกิดขึ้นจากอะไร และมารู้จักวิธีป้องกัน
ช่วงนี้เข้าหน้าฝนกันแล้ว อากาศเริ่มหนาว ๆ เย็น ๆ แม่หมีนอนตอนกลางคืน ต้องสะดุ้งตื่นมาเพราะอยู่ ๆ เจ็บจี๊ดที่น่อง “ตะคริว” รับประทานนั่นเอง ทรมานเหลือเกินเลยจ้า
ตอนแรก ๆ นึกว่าถูกผีอำรึป่าว ตึง ๆ เกร็ง ๆ ขยับขาลำบาก จิตฟุ้งซ่านมากเลย พักเดียวเท่านั้นแหละ ร้องจ๊ากเลย วันนี้แม่หมีเลยไปหาความรู้เรื่องนี้มาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังกัน
ตะคริว คืออะไร
ตะคริว ภาษาอังกฤษ Muscle cramps คือ การหดและเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเฉียบพลัน ที่รุนแรงเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเราจะไม่สามารถควบคุมการหดเกร็งกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ ได้
ระยะเวลาในการเกิดอาการหดเกร็งนั้น ส่วนมากจะไม่เกิน 2 นาที แต่บางคนอาจจะนานกว่านั้น อาการหดเกร็งกล้ามเนื้อเฉียบพลัน นี้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา แต่จะเกิดขึ้นในตอนกลางคืน
ช่วงที่เราหลับ ๆ อยู่นี่แหละ เวลาดีเชียว ทำเราสะดุ้งตื่นแล้วมานั่งร้องโอดโอย เพราะทรมานจากอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และอีกช่วงหนึ่งที่จะเกิด ตะคริว ได้นั่นคือ
ตอนเราออกกำลังกายหนัก เช่น ตอนว่ายน้ำ หรือตอนวิ่ง อาจจะทำให้เราเกิดอันตรายได้มากเลยทีเดียว นั่นอาจจะด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างเช่น อาจจะวอร์มอัพไม่ถึง
หรือร่างกายเกิดความเหนื่อยล้ามากเกินไป ขาดน้ำ และอื่น ๆ เราจึงควรรู้จักถึง สาเหตุและการป้องกันการเกิดตะคริว กันนะ
สาเหตุการเกิด ตะคริว
1.การใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนัก คือ เราใช้งานมัดกล้ามเนื้อนั้นมากเกินไป จนมันรับไม่ไหว ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายอย่างหนัก การยกของที่มีน้ำหนักมากเกินไปหรือการเดิน การยืนเป็นระยะเวลานานมาก โดยไม่ได้รับการยืดกล้ามเนื้อ หรือการคลายกล้ามเนื้อ จึงเกิด กรดแลคติกสะสมในกล้ามเนื้อ และข้อต่อ จึงเป็นเหตุให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวนั่นเอง
2. ปริมาณมวลกล้ามเนื้อลดลง คือ กล้ามเนื้อของเราหดหายไปอย่างรวดเร็ว เช่น เกิดอาการเจ็บป่วยจากโรคบางอย่าง ทำให้ทานอาหารไม่ได้ หรือทานได้น้อย จึงเป็นสาเหตุของมวลกล้ามเนื้อที่หายไป
3. อายุที่เพิ่มมากขึ้น คือ เมื่อเราอายุเพิ่มขึ้น ระบบของร่างกายเราก็จะถดถอยลง พวกเซลล์ต่าง ๆภายในร่างกายเอย กล้ามเนื้อ ข้อต่อเอยจะเสื่อมสภาพลงในช่วงที่เราสูงวัยมากขึ้น ซึ่งการเกิด ตะคริว ในผู้สูงวัยบางราย มักพบว่าเกิดอาการนานกว่า 2 นาที บางรายต้องทรมานกับอาการปวดเป็นชั่วโมงเลยทีเดียว
น้ำอัดลม มีประโยชน์และโทษ อย่างไร ไปดูกัน
เมนูกาแฟ กาแฟสไตล์ไหนที่โดนใจคุณ ชงได้ง่าย ๆ ด้วย กาแฟแคปซูล
4. ภาวะการขาดเกลือแร่ คือ เนื่องจากเกลือแร่ต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อในร่างกายของเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้ว่าร่างกายของเรา ต้องการแร่ธาตุต่าง ๆ เหล่านี้ เมื่อเราขาดไป ไม่ว่าจะด้วยการทานอาหารที่ไม่ครบหมู่ หรือการออกกำลังกายอย่างหนักเกินความพอดี หรือเกิดการถ่ายท้อง (ท้องเสีย) ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลให้แร่ธาตุของเราหายไป และทำให้เกิด ตะคริว ได้นั่นเอง
5. ดื่มน้ำน้อย คือ ทุกคนรู้กันใช่ไหมว่า 60% ของมวลในร่างกายนั้นคือน้ำ เช่น เลือด น้ำเหลือง และอื่น ๆ นั่นเอง โดยปกติแล้ว ในแต่ละวันควรดื่มน้ำให้ได้ประมาณ 8 – 10 แก้ว หรือประมาณ 1800 – 2000 มิลลิลิตรนั่นเอง ถ้าใน 1 วัน เราดื่มน้ำน้อยมาก ๆ แล้วออกกำลังกายด้วยแล้วนั้น ทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อและระบบส่วนต่าง ๆ ได้ไม่ดี อาจะทำให้เกิดอาการปวดหัว เวียนหัว รวมไปถึงอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อร่วมด้วย
วิธีการป้องกันการเกิดอาการหดเกร็งกล้ามเนื้อเฉียบพลัน
อาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อแบบปัจจุบันทันด่วนนี้ เราจะไม่รู้เลยว่าเมื่อไหร่ที่เราจะเป็น โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อต้นขา ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งต้นขาด้านหน้าและต้นขาด้านหลัง
กล้ามเนื้อน่อง และ กล้ามเนื้อส่วนท้อง เรามาแก้ปัญหาให้ตรงจุดกันดีกว่า จะได้ปลอดภัยและห่างไกลจากอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อกัน วิธีง่าย ๆ ไม่อยากตามสไตล์แม่หมีดังนี้
1.ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนการออกกำลังกายทุกครั้ง เพื่อลดโอกาสในการเกิดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้นั่นเอง
2.ควรดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อป้องกันปัญหาการสูญเสียน้ำและเกลือแร่
3.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อไปเสริมแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ร่างกายขาดหายไป
เมนูอาหารต้าน ตะคริว
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้ข้อมูลว่า ในช่วงฤดูร้อน จะมีเด็ก ๆ ประสบอุบัติเหตุจมน้ำและเสียชีวิต
เนื่องมาจากเป็น ตะคริวใต้น้ำ เพราะว่าเกิดอาการร่างกายขาดแคลเซียม ดังนั้นควรเตรียมพร้อมให้ร่างกายเราแข็งแรงไว้จะดีกว่า ซึ่งมีอยู่หลายวิธีอย่างเช่น
การกินผักและผลไม้ หรือสมุนไพรที่ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มเกลือแร่ แม่หมีจะพาเพื่อน ๆ มาเติมแร่ธาตุสำคัญให้กับร่างกาย เพื่อป้องกันอาการหดเกร็งกล้ามเนื้อเฉียบพลัน
นั่นคือ โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญ หาได้ง่าย ๆ จากผักหรือผลไม้นั่นเอง
บร็อคโคลี่ กินในปริมาณ 100 กรัม ได้รับโพแทสเซียม 316 มิลลิกรัม/แมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม/แคลเซียม 47 มิลลิกรัม
ลำไย กินในปริมาณ 100 กรัม ได้รับพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม/แมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม/แคลเซียม 1 มิลลิกรัม
Whey Protein
มะเขือเทศ กินในปริมาณ 100 กรับ ได้รับโพแทสเซียม 237 มิลลิกรัม/แมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม/แคลเซียม 10 มิลลิกรัม
กล้วยหอม กินในปริมาณ 100 กรัม ได้รับโพแทสเซียม 358 มิลลิกรัม/แมกนีเซียม 27 มิลลิกรัม/แคลเซียม 5 มิลลิกรัม
แครอท กินในปริมาณ 100 กรัม ได้รับโพแทสเซียม 320 มิลลิกรัม/แมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม/แคลเซียม 33 มิลลิกรัม
น้ำเปล่า ควรดื่ม 1 – 2 แก้ว ก่อนที่จะออกกำลังกาย และดื่มเรื่อย ๆ ทุก 20 – 30 นาที ในระหว่างออกกำลังกาย
อย่างที่แม่หมีเล่ามาด้านบนนั้น ภาวะอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโดยเฉียบพลัน สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทุกเมื่อ ทุกเวลา ดังนั้นเราควรที่จะเรียนรู้ถึงสาเหตุของการเกิด
และวิธีป้องกัน เพื่อที่จะรับมือได้อย่างถูกต้อง และจะช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บได้ จากหนักให้เป็นเบา หรือไม่ให้เกิดอาการขึ้นเลยได้อีกด้วย ขอให้ทุกคนสุขภาพแข็งแรงนะคะ
ที่มา :