ประเพณีไหลเรือไฟ 2564 และตำนานบั้งไฟพญานาค
ช่วงออกพรรษาทุกปี ทางจังหวัดนครพนมและจังหวัดหนองคาย จะมีการจัดงาน ประเพณีไหลเรือไฟ หรือ “เฮือไฟ” ขึ้น ในทุก ๆ ปี (จังหวัดอื่นริมน้ำโขงมีจัดงานเหมือนกันนะ)
เป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก เราอยากไปดูงานไหลเรือไฟมากเลยนะ ติดอยู่ที่การเงินนี่แหละ อยากไปเก็บภาพ เก็บความสวยงาม เก็บความประทับใจ มาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง
เราเขียนงาน ทำรูป ทุกอย่างเบ็ดเสร็จด้วยตัวคนเดียว ไม่มีทีมงาน เว็บเล็ก ๆ ที่ยังไม่ดัง ทุนเราน้อย การที่จะไปไกลถึงนครพนมหรือไปที่หนอนคาย คงจะใช้งบประมาณ
มากพอดูทีเดียว ถ้ามีโอกาส เราไปแน่รับรองได้เลย ตอนนี้เราพาเที่ยวใกล้ ๆ บ้านเราแทนไปก่อนเน๊อะ เพื่อน ๆ เข้ามาอ่าน เราก็ดีใจละ ถ้าไม่รบกวนมากเกินไปช่วยแชร์บทความ
เราด้วยแล้วกัน พึ่งนึกออก สมัยแม่หมีอยู่ ม. ปลาย เคยไปเข้าค่ายสังคมกับทางโรงเรียนด้วยนะ จำได้ว่าไปพักอยู่โรงเรียนแถวจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งติดริมแม่น้ำโขงเลย
ตอนกลางคืนสวยมาก ดาวเต็มท้องฟ้าที่มาพร้อมกับความเย็นยะเยือก หนาวมาก ๆ จนต้องออกไปผิงไฟกันเลยทีเดียว พึ่งเข้าใจอารมณ์ความหนาวมาก มันเป็นแบบนี้นี่เอง
ทำไมถึงมี ประเพณีไหลเรือไฟ
ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีของพี่น้องชาวอีสาน ชาวบ้านท้องถิ่นจะเรียกประเพณีนี้ว่า “เฮือไฟ” จัดขึ้นเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำมันทานหานที
คือประมาณว่า พระพุทธเจ้าท่านไปที่แม่น้ำมันทามหานที ที่มีพญานาคอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น พระพุทธองค์ได้แสดงธรรมเทศนาโปรดแก่พญานาค หลังจากนั้นพญานาคให้ขอให้
พระพุทธเจ้าประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ ในเวลาต่อมา ทั้งเทวดา มนุษย์ และสัตว์ทั้งหลายได้มาทำการสัการะบูชา นอกจากนี้ยังจัดขึ้นเพื่อเป็นการขอขมาต่อแม่น้ำ
ที่ได้ทิ้งโน่น นี่ นั่น ลงไป รวมไปถึงเป็นการเอาไฟเผาความทุกข์ให้ลอยไปกับสายน้ำนั่นเอง เป็นประเพณีที่ทำสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน และมีความสวยงามมาก
ประเพณีไหลเรือไฟ ความสวยงามของตัวเรือ
ประเพณีไหลเรือไฟ โดยตัวเรือ จะทำด้วยไม้ไผ่ ต้นกล้วย หรือวัสดุที่สามารถลอยน้ำได้ ปัจจุบันใช้เรือจริง ๆ แทนแล้วและสร้างรูปร่างต่าง ๆ เช่น สิงห์ มังกร ช้าง พญาครุฑ
ม้าเทียมราชรถ เรือสุพรรณหงส์ และอื่น ๆ ตามแต่ช่างของกลุ่มนั้น ๆ แต่ปัจจุบันบางเรือจะออกแบบรูปร่างเรือเป็นเรื่องราวเข้ากับเหตุการณ์ในช่วงนั้น ๆ โดยจะนำผ้าไปชุบในน้ำมนดีเซล
แล้วนำไปตากนานเกือบ ๆ 1 สัปดาห์ แล้วนำผ้ามาพันกับเส้นลวดที่ขึ้นเป็นรูปร่างไว้ พอถึงเวลางาน จุดไฟแล้วนำไปปล่อยตามแม่น้ำ หลัง ๆ ได้มีการจัดประกวดเรือไฟขึ้นอีกด้วย
เป็นประเพณีที่แฝงไปด้วยข้อคิด ชีวิตมนุษย์เป็นอนิจจัง เมื่อเกิดมาต้องดำเนินชีวิตตามความสุขและทุกข์ ท้ายที่สุดของชีวิต ทุกคนต้องพบเจอกับความตายและดับสูญไป
ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดหนองคาย และตำนานบั้งไฟพญานาค
ตามตำนานเค้าเล่ากันว่า เมื่อสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จไปเผยแพร่ศาสนาทั่วชมพูทวีป แล้วพญานาคีได้มีความเลื่อมใส จึงจำแลงกายมาเพื่อขอบวช
พอหลับไปจึงกลายร่างดังเดิม พระพุทธเจ้าทราบเรื่องจึงให้พญานาคีลาสิกขา เพราะไม่สามารถบวชได้ แต่ขอว่าถ้ากุลบุตรทั้งปวงที่จะบวชให้เรียกขานว่า “นาค”
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชายใดที่จะบวชจึงถูกเรียกว่า พ่อนาค และเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ไปโปรดพุทธมารดาเป็นเวลา 3 เดือนนั้น เมื่อเสด็จกลับมาสู่โลกมนุษย์
เหล่าบรรดาพญานาคี นาคเทวี จึงพร้อมใจกันจัดทำเครื่องบูชา และพ่นบั้งไฟถวาย ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า บั้งไฟพญานาค นั่นเอง นี่คือเรื่องเล่าตามพุทธประวัติ
บั้งไฟพญานาค คืออะไร
ในระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมานั้น มีนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและคนต่างชาติให้ความสนใจกันอย่างเนืองแน่น เพื่อมาพิสูจน์บั้งไฟผี หรือ บั้งไฟพญานาคนั่นเอง
ช่วงออกพรรษา เราจะเห็นสำนักข่าวหลาย ๆ ช่อง มาปักหลักหาทำเลดี ๆ เพื่อรอถ่ายทำเกี่ยวกับบั้งไฟพญานาคริมแม่น้ำโขง เป็นเหมือนงานเทศกาลขนาดย่อม ๆ
ตามหมู่บ้านที่อยู่ริมแม่น้ำโขงเลยทีเดียว โดยเฉพาะในจังหวัดหนอนคาย ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศได้เดินทางมารอดูปรากฏการณ์นี้ ที่จะเกิดขึ้นเพียงปีละ 1 หนเท่านั้น
ในช่วงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 นั่นเอง บั้งไฟพญานาคเป็นปรากฏการณ์ที่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้อย่างชัดเจน เพราะการเกิดของลูกไฟที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ไม่มีเสียง
และเป็นลูกไฟที่พุ่งขึ้นจากแม่น้ำโขงลอยขึ้นไปบนอากาศ สูงประมาณตั้งแต่ 1 เมตร ไปจนถึง 30 เมตร ลอยในอากาศประมาณ 5 – 10 วินาที แล้วแสงนั้นจะหายไป
ซึ่ง 90% ของบั้งไฟพญานาคจะพบที่ อ.โพนพิสัย อ.บึงกาฬ อ.สังคม จังหวัดหนองคาย และบริเวณ สะดือแม่น้ำโขง เป็นส่วนที่ลึกที่สุดของแม่น้ำ ในจังหวัดบึงกาฬ
งานเทศกาลออกพรรษาและเทศกาลบั้งไฟพญานาคโลก จังหวัดหนองคาย ประจำปี 2564
งาน “เทศกาลออกพรรษาบั้งไฟพญานาคโลก” ประจำปี 2564 ทางเทศบาลเมืองหนองคาย จัดขึ้นช่วงวันที่ 21 – 23 ตุลาคม จัดขึ้นที่ อำเภอเมือง อำเภอศรีเชียงใหม่
อำเภอรัตนวาปี และอำเภอโพนพิสัย แต่การจัดงานในครั้งนี้ทางหน่วยงานออกมาตรการอย่างเคร่งครัด เผื่อดูแลนักท่องเที่ยวที่มาร่วมงาน อันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด 19
นั่นเอง โดยผู้เข้าร่วมในงาน จะต้องปฏิบัติตามหลัก D – M – H – T – T – A เป็นการตรวจคัดกรองผู้เข้างาน มีทางเข้าและออกเพียงจุดเดียว และจำกัดผู้เข้ามาร่วมงาน
สำหรับหน่วยงานที่เดินทางข้ามจังหวัดต้องตรวจ Antigen Test Kit ก่อนเข้างาน สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เขตสีแดง จะต้องได้รับวัคซีนเรียบร้อยมาแล้ว 2 เข็ม
ภายในงานจะต้องสวมหน้ากากอนามัย 2 ชั้น มีการเว้นระยะห่าง อีกทั้งจะมีการทำการสุ่มตรวจนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาด้วย ATK ด้วย โดยสถานที่จัดงานมีดังนี้
1.อำเภอโพนพิสัย จัดงานระหว่างวันที่ 21 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564 บริเวณลานนาคาเบิกฟ้า ท่าน้ำวัดไทย
2.อำเภอศรีเชียงใหม่ จัดงานระหว่างวันที่ 20 – 22 ตุลาตม พ.ศ. 2564 บริเวณลานเบิ่งเวียง
3.อำเภอรัตนวาปี จัดงานระหว่างวันที่ 21 – 22 ตุลาคม พ.ศ. 2564 บริเวณบ้านท่าม่วง
4.อำเภอเมืองหนองคาย จัดงานระหว่างวันที่ 21 – 22 ตุลาคม พ.ศ. 2564 บริเวณลานวัฒนธรรมหน้าวัดลำดวน
สำหรับใครที่อยากไปร่วมงาน”เทศกาลออกพรรษาบั้งไฟพญานาคโลก” ประจำปี 2564 ตอนนี้ไม่รู้เต็มหรือยังนะ เราว่าก่อนจะออกจองโรงแรมหรือที่พักใด ๆ
ลองติดต่อสอบถามไปก่อนแล้วกัน สามารถสอบถาม ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 042421526 และ 042325407 หรือ ทาง inbox Facebook
ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวจังหวัดหนองคายสอบถามให้เรียบร้อยว่า งานยังจัดได้หรือไม่ เพราะช่วงนี้หลาย ๆ จังหวัดถูกประกาศเป็นพื้นที่เขตสีแดงเยอะเลย