Latestงานอีเว้นท์

วันคล้ายวันสวรรคต

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ วันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 9 วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันนวมินทรมหาราช

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองราชย์ครบ 70 ปี 126 วัน เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์นานที่สุดในโลก

วันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 9

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชัย วัชรงค์ เปิดเผยว่าวันที่ 26 กันยายน 2566 ที่ประชุม ครม. นำประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

เรื่องพระราชทานชื่อ วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ปี 2566 เป็นวันสัตตมวรรษหรือนแห่งการเสด็จสวรรคตครบ 7 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.10 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

เห็นสมควรกำหนด วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันนวมินทรมหาราช” ตามที่รัฐบาลขอพระราชทานพระมหากรุณา

วันคล้ายวันสวรรคตของรัชกาลที่ 9 วันนวมินทรมหาราช

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

พระนามเต็ม: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

พระราชสมภพ (วันเกิด): 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470

สถานที่เกิด: โรงพยาบาลเมานท์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเซตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

บิดา/มารดา: สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา

พี่สาว/พี่ชาย: สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (พระภิคินี) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (พระเชษฐา)

การศึกษา:

  • พระชนมพรรษาครบ 5 พรรษา ได้เสด็จทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร
  • พระองค์ได้ทรงเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอลเมียร์มองต์ (Ecole Mieremont) เมืองโลซานน์
  • ทรงเข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลาซืออิส โรมองด์ (Ecole Nouvelle de la Suisse Romande) เมืองแชลลี ซูร โลซานน์ (Chailly-sur-Lausanne)
  • พุทธศักราช ๒๔๘๑ ทรงจบการศึกษาจากโรงเรียนยิมนาส คลาสสิค กังโตนาล (Gymnase Classique Cantonal) แห่งเมืองโลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์
  • เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ แผนกวิทยาศาสตร์ แต่ทรงเลือกเรียนวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์แทนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่ ก่อนเสด็จนิวัตประเทศไทย

เสด็จขึ้นครองราชย์: 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระชนมพรรษา 18 พรรษา พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

ทรงหมั้น: วันที่ 19 กรกฏาคม พ.ศ. 2492 ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร

อภิเษกสมรส: นที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม

พระราชโอรสและพระราชธิดา:

  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2494 ณ โรงพยาบาลมองซัวซีส์ เมืองโลซานน์
  • สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498
  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม พ.ศ. 2500

รัชกาลที่ ๙

พระราชกรณียกิจในหลวง รัชกาลที่ 9

  • โครงการในพระราชดําริ รวมพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ตลอด 70 ปีที่ทรงครองราช
    • โครงการแกล้งดิน
      • แก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว
    • โครงการปลูกหญ้าแฝก
      • ใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ป้องกันการพังทลายของดิน
    • โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน
      • จัดเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล เครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อตรวจรักษาราษฎรในถิ่นทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่า และอบรมหมอหมู่บ้านเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน
    • โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
      • โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน รวบรวมเนื้อหาจากหลายสาขาวิชา โดยที่ฉบับปกติมีทั้งหมด 37 เล่ม และฉบับเสริมการเรียนรู้มีทั้งหมด 20 เล่ม
    • ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล
      • รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อให้นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่น ได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้ชั้นสูงในต่างประเทศ และกลับมาช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
    • แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : เกษตรทฤษฎีใหม่
      • รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ คือ การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตรา 30-30-30-10 เพื่อขุดเป็นสระกักเก็บน้ำ 30% ปลูกข้าวในฤดูฝน 30% ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสมุนไพร 30% และเป็นที่อยู่อาศัยอีก 10%
    • โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
      • รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโครงการอันหลากหลายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา อาทิ โรงโคนมสวนจิตรลดา, โรงนมผงสวนดุสิต, น้ำผึ้งสวนจิตรลดา เป็นต้น
    • โครงการฝนหลวง
      • รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริส่วนพระองค์ในเรื่องการจัดทำฝนหลวง เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตร
    • กังหันน้ำชัยพัฒนา
      • รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนากังหันน้ำชัยพัฒนาขึ้น เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ทำให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี