วันต่อต้านยาเสพติดโลก หรือ International Day against Drug Abuse
อีกไม่กี่วันจะถึง วันต่อต้านยาเสพติดโลก หรือ International Day against Drug Abuse and Illicit Trafficking แล้ว ก่อนหน้านี้ กัญชาคือยาเสพติดชนิดหนึ่ง
เอาจริง ๆ ถ้าใช้อย่างถูกวิธี จะมีประโยชน์มหาศาลเลย แต่คนเราใช้อย่างผิดวิธีจนเกิดปัญหา ไม่ว่าจะต่อตัวเองและสร้างปัญหาให้กับผู้อื่นอีกด้วย เค้าถึงได้ร่าง
กฏหมายให้กัญชาเป็นยาเสพติด แต่ตอนนี้ปลดล็อคเรียบร้อยแล้ว อยากให้ทุกคนศึกษาวิธีการใช้ด้วย จะได้ไม่เดือดร้อนทั้งทางตรง หรือทางอ้อม
ประวัติ วันต่อต้านยาเสพติดโลก
ตรงกันวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ทำไมถึงได้จัดตั้งวันนี้ขึ้นมา เนื่องจากสภาพปัญหาของยาเสพติดที่ระบาดไปทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
โดยตรงของตัวผู้เสพเอง หรือส่งผลทางอ้อมให้กับคนรอบข้าง จะเป็นคนรู้จักก็ดี หรือคนที่ไม่รู้จักก็ดี เป็นจำนวนมาก ทำให้หลาย ๆ ประเทศร่วมกัน
หาทางจะหยุดยั้งในเรื่องปัญหายาเสพติด ที่เกิดจากการใช้ยาในทางที่ผิด ลักลอบใช้สารเสพติด และนำเข้ายาเสพติดจากต่างประเทศ ปัญหาพวกนี้
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เลยได้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็น วันต่อต้านยาเสพติดโลก ที่จัดขึ้น ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้แจ้งว่า จะร่วมมือไม่ว่าจะป้องกันหรือแก้ไขปัญหาของยาเสพติด มีการจัดกิจกรรม
ในวันนี้มาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อย้ำเตือนให้คนไทยตระหนักถึงปัญหายาเสพติด อีกทั้งยังมีการเชิญชวนให้ใส่เสื้อสีขาวในวันนี้อีกด้วย
ในแต่ละยุค แต่ละสมัย แต่ละรัฐบาลของประเทศไทยนั้นเผชิญกับปัญหายาเสพติดนานแล้ว จนปี 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของ
จมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้มีการเลิกสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักรไทย โดยได้เผา ทำลายฝิ่น
รวมไปถึงอุปกรณ์การสูบฝิ่นต่าง ๆ ณ ท้องสนามหลวง ต่อมาพอปี 2504 ได้มีการตั้ง คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ ให้สังกัดอยู่กับ
สำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาในรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติดขึ้นในปี 2519
สารเสพติด
หมายถึง ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ หรือ ผลิตภัณฑ์จากการสังเคราะห์ ที่เสพเข้าร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น สูด สูบ ดม ฉีด และกิน หรือด้วยวิธีการอื่นใด ส่งผลต่อจิตใจ
ร่างกายในลักษณะสำคัญ เช่น มีความต้องการเสพอย่างต่อเนื่อง, มีอาการเมื่อไม่ได้เสพ, มีความต้องการเพิ่มขนาดการเสพมากขึ้น และส่งผลกับสุขภาพทรุดโทรมลง
แบ่งประเภทของสารพเสพติด 4 วิธี
- แบ่งตามแหล่งกำเนิน
- แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
- แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
- แบ่งตามองค์การอนามัยโลก
ประเทศไทยแบ่งสารเสพติดให้โทษเป็น 5 ประเภท
- ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 เฮโรอีน ยาบ้า ยาเลิฟ ยาอี เป็นต้น
- ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 2 เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ได้ ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ ใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็น ได้แก่ ฝิ่น เมทาโดน โคคาอีน มอร์ฟีน และโคเคน
- ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 3 ถ้าใช้นอกเหนือจากทางการแพทย์ จะถือว่าผิดกฏหมาย มีบทลงโทษกำกับไว้ ได้แก่ ยาแก้ไอ โดยตัวยานี้มีโคเคอีนผสมอยู่ ยาแก้ท้องเสีย ยานี้มีฝิ่นผสมอยู่ และยาฉีดระงับอาการปวดต่าง ๆ
- ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 4 ยาเสพติดในประเภทนี้ ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นสารคลอซูโดอีเฟดรีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทซึ่งจะนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
- ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 5 ยาเสพติดให้โทษ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ในประเภท 1 – 4
โทษของการติดยาเสพติด
โทษของการติดยาเสพติด เห็นได้ชัดเจนว่า คนที่ใช้ยาเสพติดเป็นประจำจะมีร่างกายซูบซีด อ่อนเพลีย บุคลิกภาพเสีย หากใช้ต่อเนื่อง
เป็นระยะเวลานาน พิษของยาจะไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงทำลายประสาทสมอง จนกลายเป็นขาดสติ
สัมปชัญญะ เลื่อนลอย ระบบประสาทบกพร่อง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หากมีอาการขาดยา อาจจะส่งผลต่อผู้อื่น ชุมชนและประเทศชาติ
มีโอกาสสูงที่คนเหล่านี้จะเป็นโจร เป็นอาชญากร นำภัยมาสู่ครอบครัว ญาติพี่น้อง อีกทั้งยังเป็นภัยอันตรายต่อผู้อื่นได้
ปัจจุบันมีสถานบำบัดให้ผู้เสพติดยาได้เข้ารับการรักษา การบำบัด รวมถึงยังมีการดูแลช่วยเหลือให้ผู้เข้ารับการบำบัด กลับมาใช้ชีวิต
ในสังคมได้อย่างสงบสุข ซึ่งการเข้ารับการบำบัดรักษา ต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของบำบัดด้วย เพราะต้องได้รับการรักษาอย่างจริงจัง
การบำบัดรักษานั้น ผู้ป่วยอาจจะหลงเหลืออาการ ที่เป็นผลกระทบมากจากการใช้ยา ดังนั้นพวกเค้าเหล่านั้นต้องการกำลังใจที่จะกลับมาดำเนินชีวิตอีกครั้ง