วันผู้ลี้ภัยโลก
วันผู้ลี้ภัยโลก (World refugee day) ผู้ลี้ภัย หมายถึง คน บุคคล พระ ที่ถูกตามล่า หรือ ถูกกดขี่ ไม่ว่าจะทางการเมือง, สัญชาติ, เชื้อชาติ หรือ ศาสนา
เมื่อประเทศที่กำลังมีปัญหา เปิดพรมแดนบริเวณชายแดน เพื่อให้ผู้คนทำการอพยพ หนีสงคราม หรือ ความขัดแย้งต่าง ๆ
ประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เปิดเส้นทางให้สามารถเข้าไปอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยได้ แต่ปัญหาใหญ่คือ ผู้ลี้ภัยจะหนีออกจากประเทศ มาอยู่ในค่ายนี่แหละ
วันผู้ลี้ภัยโลก World refugee day
World refugee day ตรงกับวันที่ 20 มิถุนายนของทุกปี ก่อนหน้านี้ แต่ละประเทศจะมีวันผู้ลี้ภัยของตัวเอง อย่างประเทศแอฟริกา Africa Refugee Day
UN (องค์การสหประชาชาติ) ได้จัดตั้งวันนี้ขึ้นเพื่อระลึกถึงความกล้ามหาญ ความเข้มแข็งของผู้ลี้ภัย ที่ถูกบังคับให้ต้องหนีออกจากประเทศบ้านเกิดของตัวเอง
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมานั้น สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ได้จัดงานในประเทศไทยขึ้น หน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน
“ผู้ลี้ภัยเหมือนกับพวกเราทุกคน ที่มีความฝัน และความหวังในชีวิต นอกจากนี้ ต้องการโอกาสเพื่อเติมเต็มศักยภาพของความเป็นมนุษย์”
คุณแทมมี่ ชาร์ป ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย กล่าวไว้ ภาพยนตร์เรื่อง The Swimmers
สร้างจากเรื่องจริง ของสองพี่น้อง หนีตายจากสงครามในซีเรีย จนในที่สุด พวกเธอผันตัวมาเป็นนักแข่งกีฬาโอลิมปิกปี 2016 ที่รีโอเดจาเนโร ที่สร้างวีรกรรมอย่างยิ่งใหญ่
ผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย และผู้อพยพ ต่างกันอย่างไร
สถานะผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย หรือผู้อพยพ ซึ่งสามคำที่เราได้ยินกันอยู่เป็นประจำ มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อน ๆ รู้หรือไม่
- ผู้ลี้ภัย (Refugees) เมื่อมีสงคราม เกิดความรุนแรงขึ้น ทำให้คนในประเทศนั้น ๆ ต้องพลัดถิ่นฐาน โดยผู้ที่มีสถานะเป็นผู้ลี้ภัยได้นั้น พวกเขาจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศ
- ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย (Asylum Seeker) ผู้ที่เดินทางออกนอกประเทศถิ่นกำเนิดของตนเอง แสวงหาความคุ้มครองจากประเทศอื่น จากกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงจากภาครัฐ ฯ แต่ยังไม่ได้เป็นผู้ลี้ภัย และรอรัฐจากประเทศนั้นอนุมัติให้เป็นผู้ลี้ภัย
- ผู้อพยพ (Migrants) ไม่มีคำจำเพาะที่ลงตัว เพราะบางคนย้ายไปเรียน ย้ายไปทำงาน บางคนย้ายเพราะความยากจน ปัญหาทางการเมือง ความรุนแรงภัยธรรมชาติ เป็นต้น
ในประเทศไทยเอง มีผู้ลี้ภัยทางการเมืองอยู่เยอะพอสมควร ตั้งแต่หลังรัฐประหาร ปี 2557 ถึง ปัจจุบัน มีคนตัดสินใจ
ขอลี้ภัยการเมืองอย่างน้อย 104 คน ซึ่งแบ่งเป็น มาตรา 112 เป็นจำนวน 66 คน, มาตรา 116 จำนวน 5 คน, อาวุธ ระเบิด จำนวน 14 คน และกรณีอื่น ๆ อีก 19 คน