Latestงานอีเว้นท์

วันสื่อสารแห่งชาติ

วันสื่อสารแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 4 สิงหาคม ของทุกปี การสื่อสาร คืออะไร การสื่อสารเป็นคำนาม หมายความว่า การบอกต่อ หรือเผยแพร่ถ้อยคำข้อความ หรือหนังสือ ที่ได้จากการฟัง พูด อ่าน เขียน จากบุคคลหนึ่ง หรือสถานที่หนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง หรืออีกสถานที่หนึ่ง

วันสื่อสารแห่งชาติ

วันนี้แอดมินจะพาเพื่อน ๆ ทุกคนมาทำความรู้จักกับประวัติและที่มาของเทคโนโลยี ตั้งแต่อดีตจนถึงยุคปัจจุบัน เพื่อน ๆ คิดแค่รูปแบบของโทรศัพท์มือถือ ที่เปลี่ยนไปมาก

ตั้งแต่รุ่นบุกเบิกเครื่องใหญ่ ต้องสะพายไหล่ หนักเป็นหลายกิโล จนมาถึงยุคของสมัยนี้โทรศัพท์มือถือ ที่เครื่องเล็กนิดเดียว ก็น่าจะเห็นภาพความเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี

ดั่งพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้ทรงพระราชทานไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เนื่องในโอกาสการจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติครั้งแรก เมื่อวันที่ 15กรกฎาคม พ.ศ. 2526

กรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข

กรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข

สมัยก่อนพ่อค้า แม่ขาย เค้าจะสั่งซื้อของ ติดต่อข่าวสารกันโดยใช้ม้าเร็ว ไว้ตามหัวเหมือนสำคัญ ๆ ต่าง ๆ เพื่องานต่อการส่งข่าวสาร เป็นการติดต่อสื่อสารอย่างง่าย ๆ ในสมัยก่อน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสารในสมัยนั้น

จนมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่สนพระทัยในการเขียนจดหมาย พระองค์เขียนจดหมายโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษกับประมุข

และบุคคลอื่น ๆ ภายนอกประเทศ วิธีการนี้ถือเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีกับมิตรประเทศ จนยามฝ่าฟันวิกฤต ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของเหล่าประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้น ด้วยเหตุนี้

กิจการไปรษณีย์ไทย จึงถือกำเนิดในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำตั๋ว ทำแสตมป์ ถือเป็น ยุคของการไปรษณีย์ อย่างแท้จริง รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข

ตรงกับวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 และได้ทรงแต่งตั้งให้เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระราชโอรสกับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการ

การไปรสะนียาคารแห่งแรก อยู่ที่คลองโอ่งอ่าง ตำบลราชบูรณะ และอาคารในพระราชอุทยานสราญรมย์ “กิจการโทรเลข” ถือเป็นเทคโนโลยีโทรคมนาคมอันทันสมัยรวดเร็วที่สุดในยุคนั้น

การวางสายโทรเลขนั้น วางจากกรุงเทพฯ ไปยังสมุทรปราการ เมื่อ พ.ศ. 2418 เพื่อใช้เกี่ยวกับงานราชการ และเปิดให้บริการแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก โดยคิดอัตราค่าใช้บริการ คำละ 1 เฟื้อง เทียบกับเงินในปัจจุบัน 12.5 สตางค์

ปัจจุบันโทรเลขนั้นไม่มีให้บริการแล้ว เนื่องจากไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเดือนละ 25 ล้านบาท แต่ได้รายได้จากบริการโทรเลขมีเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น และแทบทุกครัวเรือนมีโทรศัพท์มือถือใช้กันหมดแล้ว

วันสื่อสารแห่งชาติ -1

วันสื่อสารแห่งชาติ  จุดเริ่มต้นการสื่อสารของไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน

  • ยุคเริ่มต้น
    • ชนชั้นสูงของไทย ได้มีการเริ่มมีการติดต่อสื่อสารด้วยการใช้โทรเลข เมื่อปี พ.ศ. 2400
    • ทางรัสเซียได้ส่งคณะราชทูตมาเข้าเฝ้า โดยนำเครื่องโทรเลข และอื่น ๆ มาทูลเกล้าฯ ถว้ายให้กับรัชกาลที่ 4 เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี เมื่อปี พ.ศ. 2404
    • ในสมัยรัชการที่ 5 ประเทศสยามได้รอดพ้นจากการตกเป็นทาสอาณานิคม และวางเส้นโทรเลขสายแรก ตลอดจนขยายออกไปภูมิภาค พร้อมกับเส้นทางรถไฟ เมื่อปี พ.ศ. 2418
  • ยุคอนาล็อก
    • ประชาชนทุกชนชั้นสามารถใช้โทรเลขได้ ประเทศไทยมีความเจริญก้ามหน้ามากขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2426
    • ได้มีการสถาปนากรมโทรเลขและไปรษณีย์เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2426
    • มีการเปิดให้คนเช่าใช้โทรศัพท์ ก่อนจะพัฒนาจากระแบบแม็กนีโตมาเป็น ระบบไฟกลาง เมื่อปี พ.ศ. 2526
    • จับเอากรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขมารวมกัน เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน เมื่อปี พ.ศ. 2440
    • มีการใช้ระบบวิทยุโลกเป็นครั้งแรก ถือเป็นพื้นฐานของการสื่อสารแบบไร้สายนั่นเอง เมื่อปี พ.ศ. 2447
    • สังคมไทยได้มีโทรศัพท์แบบอัตโนมัติ เมื่อปี พ.ศ. 2480
    • มีเครื่องโทรสารและบริการเทเล็กซ์ในกรุงเทพ เพื่อสะดวกในการสื่อสาร เมื่อปี พ.ศ. 2505
    • ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ ทำให้มีการถ่ายภาพผ่านดาวเทียมอวกาศครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2509
    • พัฒนาระบบสื่อสาร มีการใช้ชุมสายโทรศัพท์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2514
    • กสท. ถูกก่อตั้งขึ้น เพื่อบริการกิจการในการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2520
  • ยุคดิจิทัล
    • แยกไปรษณีย์ออก และก่อตั้งบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด เพื่อการดูแลอย่างสะดวก เมื่อปี พ.ศ. 2546
      • มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
      • มีการส่งสัญญาณภาพ เสียง และข้อมูล สามารถสื่อสารได้ทุกเวลา ทันสมัยมากขึ้น