Latestงานอีเว้นท์

วันโอโซนโลก

หลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้เลยว่า วันที่ 16 กันยายนของทุกปี เป็น วันโอโซนโลก เพื่อให้มนุษย์ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของชั้นโอโซนของโลกเรา

อีกทั้งยังให้มนุษย์โลกทั้งหลาย ได้รู้จักป้องกัน รักษาโลกใบนี้ ที่ตัวเองอยู่อาศัย ให้ปลอดภัยจากรังสีที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์

ประวัติที่มา “วันโอโซนโลก” คือวันอะไร มีความสำคัญอย่างไร

องค์การสหประชาชาติกำหนดขึ้นให้ตรงกับวันที่ 16 กันยายนของทุกปี เป็น วันโอโซนโลก เพื่อให้ความสำคัญกับชั้นโอโซนของโลก

ซึ่งมีหน้าที่ในการปกป้องโลกและมนุษย์จากความรุนแรงของรังสีจากดวงอาทิตย์  จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2528 มีประเทศต่าง ๆ

ได้ร่วมกันลงชื่อการทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน จึงจำเป็นต้องกำหนดวันนี้ขึ้นมา เพื่อให้ทุกฝ่าย ได้รู้ถึงปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นกับโลกของเรา

เพราะโลกใบนี้ ร้อนขึ้นในทุก ๆ วัน ภาวะโลกร้อน ทวีความรุนแรงมาก จนทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น, พายุรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม,

ภัยแล้งยาวนาน,อาหารขาดแคลน, ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย, ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมามหาศาล, ป่าที่กำลังตาย,

สัตว์สายพันธุ์ต่างๆ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากขึ้น ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ทุกคน ทุกฝ่ายต้องตระหนักมากขึ้น เมื่อโอโซนถูกทำลาย ย่อมส่งผลต่อโลกของเราโดยตรง

ภาวะโลกร้อน วันโอโซนโลก 16 กันยายนของทุกปี

โอโซน คืออะไร

วันโอโซนโลก แล้วโอโซน คืออะไร เป็นก๊าซสีน้ำเงิน เกิดขึ้นจากธรรมชาติ พบได้ในชั้นบรรยากาศของโลก หน้าที่ของโอโซน คือ เป็นเกราะช่วยในการกรองและป้องกันรังสีต่าง ๆ

ที่มาจากดวงอาทิตย์ รังสีต่าง ๆ เหลาะนั้น มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก โอโซนยังช่วยป้องกัน ไม่ให้รังสี UVB เข้าสู่โลก โอโซนยังช่วยลดความร้อนสะสม

ในบรรยากาศ ทำให้ลดการเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง รวมถึงโรคต้อกระจกในตา และโอโซนยังช่วยป้องกันระบบนิเวศวิทยา ไม่ให้เสียสมดุลอีกด้วย

ปลูกป่า

ภาวะโลกร้อนสร้างโรค

  • โรคอาหารเป็นพิษ

เมื่อสภาวะอากาศที่ร้อนมากขึ้น อุณหภูมิที่สูงมากขึ้น ทำให้แบคทีเรียต่าง ๆ เจริญเติบโตรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เมื่อเกิดการปนเปื้อน

ของเชื้อแบคทีเรียในอาหาร พวกมันอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมแล้วด้วยนั้น มันจะเจริญเติบโต แบ่งตัวได้อย่างรวดเร็ว เป็นจำนวนมาก

ทำให้คนที่ทานอาหารปนเปื้อนเข้าไป มีอาการถ่ายเหลว อยากจะอาเจียน คลื่นไส้ พร้อมทั้งมีไข้ บางคนเป็นหนัก อาจจะลำไส้อักเสบอีกด้วย

  • โรคไข้เลือดออก

ยุงลายตัวเมีย Aedes aegypti ดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เป็นพาหะนำโรค เชื้อไวรัสเดงกีซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 DENV-4

ระยะฟักตัวประมาณ 8-12 วัน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวัน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง จึงมักระบาดในช่วงฤดูฝน

ไม่ว่าจะเป็นยางรถยนต์เก่า กระป๋อง แก้ว กระถาง แตก ๆ ขารองตู้กับข้าว ที่เป็นน้ำขังนิ่งและค่อนข้างสะอาด แต่ยุงลายไม่ชอบวางไข่ในคลอง หรือท่อระบายน้ำ

  • ผิวหนังไหม้แดด

Sun Burn หรือ ผิวหนังไหม้แดด คืออาการที่อยู่กลางแสงแดดร้อน ๆ เป็นเวลานาน ทำให้เกิดการไหม้ ถ้าคนผิวขาวมากเท่าไหร่ ผิวจะถูกแสงแดดไหม้เร็วเท่านั้น

ถ้าไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคนี้ ควรทาครีมกันแดด พกร่มไปด้วย ป้องกันการสูญเสียน้ำของผิวหนัง ไม่งั้นผิวจะไหม้ บวม แดง หรือหนัก ๆ เข้าจะปวดแสบ ปวดร้อน ทีเดียว

ต้นไม้ฟอกอากาศ

ปลูกต้นไม้เพิ่มโอโซนภายในบ้าน

  • ลิ้นมังกร เป็นไม้ล้มลุก ถึกทนและแข็งแรง ดูดซับสารพิษในอากาศได้ดี
  • ต้นพลูด่าง ปลูกง่าย ตายยาก กำจัดสารเบนซีน ฟอร์มาลดีไฮด์ ไซลีน และโทลูอีน
  • ไทรใบสัก ไม้พุ่ม มีขนาดลำต้นไม่ใหญ่มาก ฟอกอากาศชั้นเยี่ยมเลย
  • เศรษฐีเรือนใน ไม้พุ่มใบเรียวสีเขียว-เหลือง กำจัดสาร VOC หรือสารอินทรีย์ระเหยง่าย
  • มอนสเตล่า ไม้นี้เป็นราชินีแห่งไม้ใบ ปลูกเพื่อฟอกอากาศภายในบ้าน
  • ยางอินเดีย ใบที่มีขนาดใหญ่ เป็นไม้ยืนต้น ใบกลมหนา ดูดซับและกำจัดฟอร์มาลดีไฮด์ สารเคมี รวมถึงช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ได้เป็นอย่างดี
  • ว่านหางจระเข้ สรรพคุณที่นอกจากจะใช้ดูแลรักษาแผลผุพองได้ดีแล้ว บางคนอาจจะไม่รู้ว่า ว่านหางจระเข้ เป็นต้นไม้ที่ฟอกอากาศด้วย ดูดสารพิษจำพวกฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งพบในสารเคลือบต่าง ๆ ทั้งยาทาเล็บ ยาเคลือบเฟอร์นิเจอร์ และสีทาบ้าน เป็นต้น
  • เดหลี ไม้ล้มลุก ดอกสวยงาม กลิ่นหอม มีความสามารถในการดูดซับสารพิษในบ้านได้ด้วย ทั้งเบนซินและฟอร์มาลดีไฮด์
  • กล้วยไม้ รู้หรือไม่ว่าต้นไม้ชนิดนี้เป็นต้นไม้ฟอกอากาศด้วย ช่วยในการดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถคายก๊าซออกซิเจนได้ในปริมาณมาก
  • เยอบีร่า ต้นเล็ก ออกดอกสวยงาม ช่วยฟอกอากาศ ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้อากาศสดชื่นตลอดวัน
  • เสน่ห์จันทร์แดง ไม้สวยงาม เสริมสิริมงคล ฟอกอากาศได้ดีเยี่ยม ช่วยดูดสารพิษจำพวกแอมโมเนียด้วย
  • เบญจมาศ ไม้ดอกสวยงาม เป็นต้นไม้ฟอกอากาศที่เป็นมลพิษ อย่างกลิ่นจากสีทาบ้าน กาว พลาสติก
  • เฟิร์นดาบออสเตรเลีย เฟิร์นขนาดค่อนข้างใหญ่ ช่วยดูดสารพิษจำพวกฟอร์มาดีไฮด์ ไซลีน และโทลูอีน ได้ แล้วยังสามารถช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นอีกด้วย
  • ปาล์มสิบสองปันนา ไม้ตระกูลปาล์ม ใบสีเขียวเข้ม ช่วยดูดซับสารพิษในอากาศ

สรุปแล้ว วันโอโซนโลก จึงถือเป็นวันที่สำคัญวันหนึ่งเลย เพราะช่วยให้เราได้เรียนรู้ ได้ตระหนักถึงการใส่ใจ ช่วยเหลือ ลงมือรักษาสิ่งแวดล้อม

ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น ใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติ หยุดการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชั้นโอโซน ช่วยกันปกป้องโลกให้น่าอยู่อย่างสมดุลกันต่อไป