ว่ายน้ำ

ว่ายน้ำกับเด็กพิเศษ เด็กพิเศษเรียนว่ายน้ำได้ และมีประโยชน์อย่างมาก [22]

วันนี้ครูปุ้มจะมาพูดถึงเรื่อง ว่ายน้ำกับเด็กพิเศษ ว่าเด็ก ๆ กลุ่ม สามาถเรียนว่ายน้ำได้ ซึ่งตั้งแต่ครูปุ้มสอนว่ายน้ำมา20 กว่าปี  เราสอนเด็กมาเยอะมาก

แค่สอนในโรงเรียนแต่ละคาบ ถือว่าต้องพลิกตำรา ลูกล่อลูกชน เอามาสอนเด็กกันเลยทีเดียว ในส่วนของเด็กปกติที่เป็นเด็กเล็ก ๆ เราว่าเป็นงานที่หินมา

เพราะที่โรงเรียนเก่าของครูปุ้มนะ เรียนว่ายน้ำตั้งแต่ชั้นเนอสเซอรี่ อายุประมาณ 2 ขวบ เราต้องมาสอนพื้นฐานว่ายน้ำแล้ว แค่เอาให้หยุดร้อง แล้วไม่กลัวครูตัวอ้วน ๆ ดำ ๆ

SWIMMING PROGRAM FOR CHILDREN WITH SPECIAL NEEDS

เราปาดเหงื่อทุกวันเลย แต่สนุกดีนะ เหมือนเป็นการปลดล็อค Achievement เด็กคนไหนไว้ใจเรา แล้วยอมเรียน ยอมลงมาเล่นน้ำ ถือว่าเราเอาชนะภารกิจได้แล้ว

ยังไม่นับรวมกับ ว่ายน้ำกับเด็กพิเศษ ที่จะมีเด็กพิเศษมาเรียนร่วมในแต่ละห้อง แต่ไม่ใช่ว่าทุกห้องจะมีเด็กพิเศษนะ และความพิเศษของน้อง ๆ

แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนมากบ้าง บางคนเล็กน้อย ถือว่าเราผ่านการสอนว่ายน้ำเด็กพิเศษมาหลายคนมาก ๆ บางคนฟังเราพูดเข้าใจ บางคนฟังไม่เข้าใจเลย

ซึ่งแต่ละคนจะพิเศษแตกต่างกัน ครูปุ้มขออธิบายเกี่ยวกับเด็กพิเศษก่อนว่า น้อง ๆ กลุ่มนี้คือใคร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท และเด็กพิเศษที่ครูปุ้มสอนมา น่ารักทุกคน

เด็กพิเศษคือใคร เราจะแบ่งเด็กพิเศษออกเป็นเด็กที่มีความบกพร่อง 9 ประเภท ซึ่งแต่ละด้าน จะส่งผลให้เด็กเรียนรู้ช้า มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติในช่วงวัยเดียวกัน

เด็ก ๆ กลุ่มนี้จึงต้องได้รัรบการช่วยเหลือ การดูแลที่แตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป ต้องใส่ใจในรายละเอียดของเด็กมากกว่าเด็กปกติทั่วไป

เรียนว่ายน้ำกับเด็กพิเศษ เด็กพิเศษ เด็กดาวน์ซินโครม

ว่ายน้ำกับเด็กพิเศษ เราแบ่งกลุ่มเด็กพิเศษออกได้ดังนี้

  • กลุ่ม 1 เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

เด็ก ๆ กลุ่มนี้จะมีระดับสติปัญญาจะต่ำกว่า 70 และอาการจะต้องแสดงออกก่อนอายุ 18 ปี อย่างเช่นน้อง ๆ ในกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม

หรืออาจจะเป็นคนที่มีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนตั้งแต่เกิด หรือเด็ก ๆ ที่เกิดจากคุณแม่ที่ดื่มแอลกอฮอล์  เด็กกลุ่มนี้เราจะพบว่ามีความบกพร่อง

ในเรื่องของการทำงาน ของกระบวนการทางสติปัญญาและมีปัญกาเกี่ยวกับพฤติกรรมการปรับตัวอีกด้วย

  • กลุ่ม 2 เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

ซึ่งน้อง ๆ พิเศษกลุ่มนี้จะสูญเสียการได้ยิน หรือบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งเด็ก ๆ จะได้ยินเสียงต่าง ๆ ไม่ชัดเจน ซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มเด็กหูหนวกกับกลุ่มเด็กหูตึง

เมื่อเวลาที่เราพูดสื่อสารออกไป ทำให้เด็ก ๆ ไม่ค่อยตอบสนองในสิ่งที่เราพูดไป เพราะเค้าได้ยินไม่ชัด หรือไม่ได้ยินเลย บางคนมีอาการพูดไม่ชัดและสมาธิสั้นร่วมด้วย

  • กลุ่ม 3 เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น

เด็กที่มองไม่เห็นเลยหรือเห็นแบบเลือนลางไม่ค่อยชัดและมีบกพร่องผิดปกติทางสายตาทั้งสองข้าง ซึ่งเราอาจจะสังเกตได้จากพฤติกรรมของเด็ก ๆ

บางคนจะขยี้ตาบ่อย ๆ บางคนเพ่งมองสมุด มองกระดาน เพ่งจนปวดหัว ทำให้เด็กกลุ่มนี้ไม่อยากเรียน ไม่สนใจที่จะเรียน บางคนเดินชนประตูกระจก หรือหน้าต่างอีกต่างหาก

  • กลุ่มที่ 4 เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

เด็ก ๆ กลุ่มนี้จะมีอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายบกพร่องหรืออวัยวะหลาย ๆ ชิ้นในร่างกายหายไป ซึ่งบางคนนั้นมีความพิการทางกระดูก ทางกล้ามเนื้อ

หรือมีอาการป่วยรุนแรงเรื้อรัง หรือพิการทางประสาททางสมอง เด็ก ๆ กลุ่มนี้จะเคลื่อนไหวไม่คล่องตัว ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนหรือเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ

ว่ายน้ำกับเด็กพิเศษ นักกีฬาดาวน์ซินโดรม

  • กลุ่มที่ 5 เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา

เด็ก ๆ กลุ่มนี้ อาจจะพูดค่อยไม่ชัด เสียงที่เปล่งออกมาไม่เหมือนเด็กปกติทั่ว ๆ ไป การพูดผิดปกติ  รวมถึงการออกเสียงเพี้ยน เวลาพูดคำยาก ๆ

จะออกเสียงยาก บางคำออกเสียงไม่ได้ ทำให้สื่อสารกับผู้อื่นมีปัญหา หรือสื่อสารกันไม่ได้ บางคนอายที่พูดไม่ชัด กลัวโดนล้อเลยทำให้ไม่อยากพูด

  • กลุ่มที่ 6 เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

เด็กกลุ่มนี้ จะอยู่นิ่ง ๆ หรืออยู่ในสภาพแบบปกตินาน ๆ ไม่ได้ ทำให้เด็ก ๆ กลุ่มนี้ ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยความสงบ

  • กลุ่มที่ 7  เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้

เด็ก ๆ เหล่านี้จะมีปัญหาทั้งการใช้ภาษา การพูดและการเขียน

  • กลุ่มที่ 8 คือ เด็กที่เป็นออทิสติก

เด็กกลุ่มนี้มีความบกพร่องเยอะมาก ๆ ในเรื่องของการสื่อสารความหมาย พฤติกรรมทางด้านของการเข้าสังคม และความสามารถทางด้านสติปัญญา

ซึ่งแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน มีตั้งแต่อาการที่รุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงมาก อาการพวกนี้จะคงอยู่ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต ไม่สามารถรักษาให้หายได้แต่

ผู้ปกครอง คุณครูสามารถสอนให้พวกเขาดูแลตัวเองได้ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ อย่างเช่น การทานข้าว การเข้าห้องน้ำ การดูแลสุขลักษณะของตัวเอง

  • กลุ่มที่ 9 กลุ่มเด็กพิการซ้ำซ้อน

เป็นเด็กที่มีความบกพร่องมากกว่าหนึ่งอย่าง อย่างเช่น ปัญญาอ่อนและตาบอด หรือหูหนวกและตาบอด หรือปัญญาอ่อนและร่างกายพิการ

เด็กดาวน์ ดาวน์ซินโดรม

ออทิสติกกับดาวน์ซินโดรม เรียกให้ถูก แยกให้ออก

เด็ก ๆ ที่มาเรียนว่ายน้ำกับครูปุ้มในช่วงเวลาพิเศษ ที่ไม่ใช่ในคาบเรียนของโรงเรียน จะมีกลุ่มเด็กออทิสติกและกลุ่มของดาวน์ซินโดรมมาเรียนด้วย เราต้องแยกเด็ก 2 กลุ่มนี้ให้ออกด้วยนะ เผื่อวางแผนการสอนได้อย่างดีขึ้น

ออทิสติก คือ กลุ่มโรคที่เป็นความผิดปกติของสมองและระบบประสาท ซึ่งไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูแต่อย่างใด ซึ่งบางคนจะมีปัญหาในเรื่องของการเข้าสังคม มีความรุนแรงมากและน้อยซึ่งแต่ละคนมีไม่เท่ากัน หรือบางคนอาจจะเข้าสังคมได้ดี หรือบางคนมาพร้อมกับความอัจฉริยะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือบางคนอาจจะชอบเก็บตัว ไม่สบตาคน ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีความผิดปกติทางกายภาพ สังเกตได้จากพฤติกรรมต่าง ๆ

ดาวน์ซินโดรม คือ อาการที่เกิดจากสารพันธุกรรม โครโมโซมคู่ที่ 21 ผิดปกติ ทำให้การควบคุมการสร้างตัวอ่อนผิดปกติ ทำให้เบบี๋คนนั้นมีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาและเด็ก ๆ กลุ่มนี้จะมีหน้าตาที่คล้าย ๆ กัน อย่างเช่น ตัวเตี้ย ตาเฉียง ๆ เอียง ๆ ขึ้นไปหน่อย จมูกแบน หน้าแบน คอสั้น ๆ ลิ้นยื่น ๆ และชอบทำลิ้นจุกที่ปาก

ว่ายน้ำของเด็กพิเศษ

ว่ายน้ำกับเด็กพิเศษ มีประโยชน์มากมาย

หลาย ๆ คนน่าจะทราบประโยชน์ของการว่ายน้ำกันมาบ้างแล้ว ว่าการว่ายน้ำนั้นมีประโยขน์ต่อทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็กเล็กไปจนถึงวัยสูงอายุกันเลยทีเดียว

ช่วยทั้งในเรื่องของการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ทำให้พัฒนาอารมณ์และสังคมได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงบำบัดรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกต่าง ๆ ด้วย

และที่สำคัญยังช่วยเยียวยารักษารวมถึงส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กพิเศษหรือเด็กออทิสติกหรือเด็กดาวน์ได้ด้วย

การ ว่ายน้ำกับเด็กพิเศษ ว่ากันว่าจะช่วยรักษาอาการของเด็กพิเศษได้ดีขึ้น ซึ่งเราจะเรียกการรักษาแบบนี้ว่า “ธาราบำบัด” เป็นการใช้น้ำในการช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อของเด็ก ๆ

ทำให้ร่างกายแข็งแรง กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น สุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยได้ง่าย และมีพัฒนาการในหลาย ๆ ด้านที่ดีขึ้น อย่างเช่น เรื่องการเข้าสังคม

ธาราบำบัดคืออะไร โดยปกติแล้ว การทำธาราบำบัด จะนิยมให้กับเด็ก ๆ ที่มีกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง หรือมีความพิการ แขน ขาเล็ก ลีบ กระดูกไม่แข็งแรง

โดยจะใช้น้ำอุ่น ๆ เป็นสื่อกลางในการช่วยทำกายภาพบำบัดให้กับเด็ก ๆ เพราะคุณสมบัติของน้ำนั้นจะช่วยพยุงน้ำหนักไม่ให้ร่างกายแบกภาระมากเกินไป

ทำให้เด็ก ๆ สามารถเคลื่อนไหวได้ดีและคล่องตัว อีกทั้งยังช่วยในการกระตุ้นระบบหายใจ ทำให้ปอดแข็งแรงขึ้นได้ด้วยนั่นเอง โดยจะมีอุปกรณ์ในการ

นักกีฬาดาวน์ซินโดรม ว่ายน้ำกับเด็กพิเศษ

พยุงร่างกายให้ลอยน้ำได้ อย่างเช่น ปลอกแขน ห่วงยาง หรือเสื้อชูชีพ เป็นต้น ซึ่งส่วนตัวแล้ว ครูปุ้มมักจะแนะนำให้ผู้ปกครองใช้ปลอกแขนมากกว่า

การเรียนน้ำของเด็กพิเศษที่ครูปุ้มสอนอยู่นั่น เพื่อมุ่งเน้นให้เด็ก ๆ ได้ออกกำลังกายในน้ำ และได้รับทักษะการเอาตัวรอดทางน้ำอีกด้วย

โดยหลัก ๆ แล้วเมื่อเด็ก ๆ กลุ่มนี้มาเรียนว่ายน้ำ เค้าจะมีพัฒนาการในเรื่องต่าง ๆ ดีขึ้นควบคู่กันไป โดยการ ว่ายน้ำกับเด็กพิเศษ แต่ละคน ครูปุ้มจะสอนไม่เหมือนกันเลย

รูปแบบการฝึกจะต่างกันออกไปตามข้อจำกัดของเด็ก ๆ นั่นเอง แต่สิ่งที่ครูปุ้มเน้นจริง ๆ คือความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก ๆ

ในเรื่องของรว่ายน้ำนั่นเอง จริง ๆ แล้วการสอนเด็กพิเศษแต่ละคน จะมีวัถตุประสงค์ใกล้เคียงกัน คือ เด็กต้องมีพัฒนาการกล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้น

เด็กต้องมีระบบหายใจที่ดีขึ้นกว่าเดิม เด็กสามารถกลั้นลมหายใจได้ สามารถเตะขาท่าฟรีสไตล์ได้แบบจับโฟมหรือใส่ปลอกแขน สามารถเล่นน้ำด้วยตนเองได้

โดยใช้อุปกรณ์ พร้อมเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเราต้องค่อย ๆ สอน ค่อย ๆ อธิบายให้เด็ก ๆ เข้าใจ อาจจะใช้เวลามากหน่อยเท่านั้นเอง

ผู้ปกครองสามารถพาเด็ก ๆ ที่มีความพิเศษลงเล่นน้ำได้ด้วยตนเอง ฝึกในทักษะซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ เด็ก ๆ จะค่อย ๆ พัฒนาศักยภาพของตัวเองได้ดีขึ้นเป็นลำดับ

นักกีฬา ดาวน์ซินโดรม เด็กพิเศษ ว่ายน้ำกับเด็กพิเศษ

อย่างเช่น BABY POOL ฝึกให้เด็ก ๆ เตะขา หรือฝึกให้เด็ก ๆ ลอยน้ำด้วยตนเองโดยใช้ปลอกแขน ซึ่งแรก ๆ เด็ก ๆ อาจจะกลัวอยู่บ้าง ค่อย ๆ ฝึกกันไปนะ สู้ ๆ จ้า

ฝากกดติดตามครูปุ้มได้ใน เพจว่ายน้ำกับครูปุ้ม ไปดูการเรียนการสอนและภาพเด็ก ๆ น่ารัก ๆ ที่ฝึกว่ายน้ำได้เลย วันนี้ขอตัวไปก่อน แล้วพบกันใหม่จ้า Bye-Bye