สรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัว ที่ถูกต้อง ต้อนรับสงกรานต์แบบไทย ๆ
ทำไมพอถึงเทศกาลสงกรานต์ในแต่ละปี เราต้องทำการ สรงน้ำพระ ด้วย ซึ่งแม้กระทั่งครอบครัวของแม่หมียังต้องตื่นแต่เช้ามาเตรียมของ เตรียมน้ำไว้เลย
บ้านอื่นเค้าทำกันวันไหนไม่รู้นะ แต่ที่บ้านเรา พ่อกับแม่จะจัดสรงน้ำในช่วงวันที่ 14 เมษายน ของทุก ๆ ปีเลย ถือว่าเป็นการรวมสมาชิกในครอบครัวปีละหน แต่ปีนี้น่าจะไม่มีญาติ ๆ
มาเพราะแต่ละคนยังติดโควิด – 19 กันอยู่เลย ถือเป็นอีก 1 ปี ที่สงกรานต์เงียบเหงามาก สำหรับรูปภาพการจัดงานในครั้งนี้ เป็นรูปภาพที่เราถ่ายเอง ระหว่างการเรียน
ซัมเมอร์ของ โรงเรียนยอแซฟวิทยา ท่าใหม่ จันทบุรี ห้องอนุบาล 3/3 ครูหญิงเป็นครูประจำชั้น ได้สอนวิธีการ ทำน้ำสำหรับ สรงน้ำพระ วิธีการสรงน้ำองค์พระ
วิธีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และการรำวง ซึ่งเด็ก ๆ จะได้นำวิธีการต่าง ๆ กลับไปเล่าให้พ่อ แม่ที่บ้านฟังแน่นอน ปกติจันทบุรีป่านนี้รถติดไปหมดแล้ว
คนไหลมาเที่ยว เพราะที่นี้มีงานเล่นน้ำ สาดน้ำกันตั้งแต่ตอนกลางคืนของวันที่ 12 เมษายนเลยทีเดียว เป็นอะไรที่โคตรสนุก ใครจะออกไปหาอะไรกิน
ตั้งแต่ช่วง 6 โมงเย็นเป็นต้นไป ต้องรู้เลยว่า ออกมาเปียกแน่นอน ทำใจได้เลย แต่ส่วนใหญ่ทุกคนพร้อมเปียกอยู่แล้ว ร่างกายต้องการปะทะน้ำครับผม
อุปกรณ์สำหรับ สรงน้ำพระ
แม่หมีจะพาเพื่อน ๆ ไปเตรียมอุปกรณ์กันก่อนนะ อันดับแรกเราต้องหาโต๊ะสำหรับวางพระพุทธรูปเสียก่อน เอามาตั้งองค์พระชั่วคราว และค่อย ๆ ทำความสะอาด
องค์พระด้วยฟองน้ำนุ่ม ๆ หรือผ้าสะอาด เตรียมถาดสำหรับรองน้ำ ตอนที่เราทำการสรงน้ำ ขันใบใหญ่สำหรับใส่น้ำสะอาดบริสุทธิ์ ขันใบเล็ก สำหรับไว้ตักน้ำ
เพื่อสรงน้ำองค์พระ โดยในน้ำใส่เครื่องหอม ใส่ดอกไม้ อย่างพวกดอกมะลิ กลีบของดอกกุหลาบ ดอกรัก น้ำอบ น้ำปรุง น้ำจะหอมฟุ้งไปทั่วบ้านเลยทีเดียว
แจกันสำหรับใส่ช่อดอกไม้ 1 คู่ เชิงเทียน 1 คู่ และกระถางสำหรับปักธูป ภายในกระถางธูปนั้นที่บ้านของเราจะใส่เป็นพวกธัญพืชที่เป็นมงคล
อย่างเช่น ข้าวสาร ถั่วเหลือ ถั่วเขียว งาดำ งาขาว นำมาผสม ๆ กันแล้วใส่ลงไปในกระถางธูปได้เลย บ้านเราไม่ใช้ทรายนะ เพราะไม่รู้แหล่งที่มา
ว่าเค้าตักมานี่สะอาดหรือเปล่า มีอึหมา ฉี่แมวมั้ยก็ไม่รู้ เราไม่ได้คิดมากนะ แต่ต้องเอามาใช้สำหรับไหว้พระเน๊อะ เลยเอาแบบที่เราสบายใจดีกว่า
ขั้นตอนการ สรงน้ำพระ
ก่อนที่จะทำการสรงน้ำองค์พระพุทธรูปนั้น เราต้องอัญเชิญพระมาจากหิ้งหรือจากห้องพระเสียก่อนนะ อัญเชิญพระพุทธรูปภายในบ้านมาทำความสะอาด
ก่อนอื่นต้องทำการขอขมาก่อน ด้วยการตั้งนโม 3 จบ และตามด้วย ระตะนัตตะเย ปะมาเทนะ ทะวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต
กายกรรม 3 วจีกรรม 4 มโนกรรม 3 ที่ตัวของข้าพเจ้าได้ประมาท พลาดพลั้งในพระรัตนะตรัย ด้วยการตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี ต่อหน้าและลับหลังก็ดี
ขอพระรัตนตรัยได้โปรดยกโทษให้กับข้าพเจ้าด้วยเถิด หลังจากนั้นเราลงมือทำความสะอาดองค์พระพุทธรูปได้เลย เวลาเช็ดองค์พระ ให้ระวังหน่อยนะ
เพราะบางองค์มีความเก่าแก่ เบามือหน่อยละกัน เดี๋ยวจะชำรุดเสียหายได้ ใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ หรือใช้ฟองน้ำนุ่ม ๆ ทำอย่างเบามือนะ
สรงน้ำพระ
หลังจากที่เราได้อัญเชิญพระพุทธรูปมาทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว ให้เรานำลงไปวางที่ถาดรองบนโต๊ะที่ได้จัดไว้ ก่อนทำการสรงน้ำ บ้านเราจะต้อง
จุดธูปไหว้พระเสียก่อน ใครจะสวดบทไหนแล้วแต่ถนัดเลย สำหรับเราจะตั้งนะโม 3 จบและต่อด้วยบทสวดปฏิจจสมุปบาท ต่อด้วย อิมินา สิญฺจะเนเนวะ
โรโค โสโก อุปัททะโว นิพพันตุ สัพพะโส เอเต สุขี โหนตุ นิรันตะรัง และตามด้วย เดชะ ข้าสรงน้ำ พระชุ่มฉ่ำตลอดกาล ทุกข์โศกโรคภัยพาล อันตรธาน เป็นสุข เทอญ
หลังจากนั้นเราจะนำน้ำอบน้ำปรุงที่ใส่มีดอกไม้ลอยน้ำมาทำการ สรงน้ำพระ พุทธรูปและอธิษฐานขอพรต่าง ๆ เมื่อทำพิธีต่าง ๆ เสร็จแล้ว อัญเชิญพระกลับเข้าหิ้งหรือไปตั้งไว้ที่โต๊ะหมู่บูชาเหมือนเดิม
นอกจากการสรงน้ำองค์พระพุทธรูปแล้ว ที่บ้านของเรามีพิธีรดน้ำดำหัวอีกด้วยนะ บ้านเราทำมาทุกปีแหละ ตอนเด็ก ๆ เราก็งงเหมือนกันนะ ทำไมต้องเอาน้ำมารดมือ รดเท้าด้วย
วันนี้แม่หมีจะมาเล่าเรื่องราวของประเพณีนี้ให้ฟัง ว่าทำไปเพื่ออะไร คำว่า รดน้ำดำหัว นั้นเป็นคำพูดของชาวเหนือที่ไปรดน้ำเพื่อขอขมาและเพื่อขอพรจากผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ
ถือเป็นประเพณีโบราณมาตั้งแต่ในอดีตเลยนะ เมื่อก่อนเค้าทำการอาบน้ำจริง ๆ เลยนะ ส่วนการดำหัวคือการสระผมให้ผู้ใหญ่ โดยทางเหนือเค้าจะใช้น้ำส้มป่อยหรือน้ำมะกรูดในการสระผม
เพื่อน ๆ รู้จักหรือป่าว น้ำส้มป่อยอะ หลังจากนั้นเป็นต้นมานะ พิธีนี้ก็แพร่กระจายไปทั่วประเทศไทยเลย ไม่ว่าจะภาคกลาง ภาคอิสาน ภาคใต้ จะมีการจัดพิธีการนี้ทั้งนั้น
นอกจากนี้นะ ยังถือว่าเป็นการชำระเอาสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตอีกด้วย เพื่อต้อนรับเอาสิ่งดี ๆ เข้ามา แม่หมีว่าพิธีรดน้ำดำหัว เป็นประเพณีที่ดีงามมากทีเดียว อยากให้
ช่วยกันรักษาสืบทอดกันต่อไปนะ เราจะพาเพื่อน ๆ มาดูวิธีการรดน้ำดำหัวในแบบฉบับโบราณ และแบบฉบับใหม่ ว่าแตกต่างกันยังไง
วิธีดำหัวแบบฉบับโบราณ
- ดำหัวตัวเอง งงมั้ย ปกติเราต้องไปดำหัวผู้ใหญ่ใช่เปล่า แต่นี้จะเป็นการชำระล้างสิ่งไม่ดีออกไปด้วยพิธีเสกน้ำส้มป่อย ด้วยคำพูดที่เป็นมงคล สัพพทุกขา สัพพภยา สัพพโรคาวินาสันตุ เพื่อท่องเสร็จให้เรานำน้ำส้มป่อยมาลูบหัวตัวเอง เป็นอันเสร็จพิธี
- ดำหัวผู้น้อย ผู้น้อยในที่นี้คือ เมีย ลูก หลาน เป็นพิธีกรรมต่อจากแบบที่ 1 นะ เมื่อทำแบบที่ 1 เสร็จแล้ว มาต่อแบบที่ 2 ใช้น้ำส้มป่อยนั้นลูบที่หัวของเมีย ลูก หลาน
- ดำหัวผู้ใหญ่ คือ พ่อ แม่ ครู อาจารย์ พระเถระ
วิธีดำหัวแบบสมัยใหม่
วิธีนี้คือที่เรา ๆ ทำกันในปัจจุบันนี่แหละ เน้นไปรดน้ำดำหัวกับผู้หลัก ผู้ใหญ่ที่เรานับถือนั่นแหละ สิ่งที่ต้องเตรียมคือ น้ำอบ น้ำหอม หรือน้ำส้มป่อย ที่บ้านเราใส่ดอกมะลิ
ใส่กลีบดอกกุหลาบลงไปลอยในน้ำด้วย เริ่มจากพระในบ้านก่อนเลย พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา พี่ เมื่อนำไปรดน้ำผู้ใหญ่แล้ว ท่านจะให้พรเรากลับมา
เป็นการสานความสัมพันกับคนในครอบครัว ทำให้ทุก ๆ คนมีความสุข แถมยังช่วยเพิ่มความอบอุ่นในครอบครัวอีกด้วยนะ เพื่อน ๆ นำไปทำกันได้นะ
ขอให้มีความสุขในเทศกาลวันสงกรานต์ทุกคนเลย เดินทางปลอดภัย ปลอดโรค สุขภาพแข็งแรง สวัสดีปีใหม่ไทย 2565 จากแม่หมี chill-gang จ้า