ดราม่าออนไลน์

ส.ว. หรือสมาชิกวุฒิสภา คือใคร

ส.ว. หรือสมาชิกวุฒิสภา คือใคร หลาย ๆ คนน่าจะกำลังติดตามข่าวทางการเมืองอยู่ในขณะนี้ กับ 250 สมาชิกวุฒิสภา ที่มาจากพลเรือน ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ

ปัญหามันเกิดจาก เมื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้เป็นแคนดิเดต นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ได้รวบรวมเสียง 8 พรรค เพื่อจัดร่วมตั้งคณะรัฐบาล ยังขาดคะแนนอีกเยอะ

ถึงจะได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนเสียงทังหมดในรัฐสภา โดยผลโหลตนายก ครั้งที่ 1 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้คะแนนเสียงเห็นชอบ 324 เสียง ไม่เห็นชอบ182 เสียง และงดออกเสียง 199 เสียง

เท่ากับว่ามติที่ประชุมรัฐสภาไม่เห็นชอบให้นายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรี คะแนนโหวตเห็นชอบอย่างเป็นทางการนั้น แยกเป็น ส.ว. 13 เสียง และ ส.ส. 311 เสียง ซึ่ง 8 พรรคร่วมนั้นพร้อมใจกันไม่แตกแถว

ส.ว. หรือสมาชิกวุฒิสภา คือใคร

ส.ว. หรือสมาชิกวุฒิสภา เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างเรา ๆ เหมือนกับพวก ส.ส. นั่นแหละ เพียงแต่ว่ามีข้อแตกต่างกันอยู่ อย่างเช่น จำนวน, ที่มา, การสังกัดพรรคการเมือง

โดยในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับได้กำหนดจำนวนและที่มาของสมาชิกวุฒสภาไว้แตกต่างกัน เช่น

  • รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กำหนดให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมดจํานวน 200 คน
  • รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 กําหนดให้วุฒิสภามีจํานวน 150 คน โดยมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และมาจากการสรรหาเท่ากับจํานวนรวมข้างต้นหักด้วยจํานวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง
  • รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กําหนดให้จํานวนและที่มาของวุฒิสภาไว้สองช่วงเวลา คือ
    • ช่วงที่ 1 ซึ่งเป็นไปตามบทเฉพาะกาลที่กําหนดให้มี ส.ว. จํานวน 250 คน แต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถวายคําแนะนําโดยมาจากการเลือกของ กกต. และมาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหา ส.ว. จํานวน 194 คน
    • ช่วงที่ 2 : คือ เมื่อพ้นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันแต่งตั้ง ให้ ส.ว. มีจํานวน 200 คน ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของคนที่มีความรู้ ความชำนาญ หรือหน้าที่การงานที่หลากหลายของสังคม โดยในการแบ่งกลุ่มต้องแบ่งในลักษณะที่ทําให้ประชาชนซึ่งมีสิทธิสมัครรับเลือกทุกคนสามารถอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้

โหวตนายก

ส.ส. – ส.ว.ไม่โหวตให้พิธา

ส.ส. – ส.ว.ไม่โหวตให้พิธา ถ้าให้พูดชื่อครบทุกคน คงยาวหลายหน้ากระดาษ A4 เลยทีเดียว เพราะไม่ชอบ 182 เสียง งดออกเสียง 199 เสียง แอดมินหาข้อมูลพร้อมสรุปมาให้คร่าวแล้วกัน

ไม่เห็นชอบ รวม 182 เสียง ประกอบด้วย พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 เสียง, พรรคภูมิใจไทย 70 เสียง, พรรคพลังประชารัฐ 40 เสียง, พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง,

พรรคท้องที่ไทย 1 เสียง และสมาชิกวุฒิสภา 34 เสียง งดออกเสียง รวม 199 เสียง ประกอบด้วย พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง, พรรคประชาธิปัตย์ 25 เสียง,

พรรคประชาชาติ 1 เสียง, พรรคชาติไทยพัฒนา 10 เสียง, พรรคชาติพัฒนากล้า 2 เสียง, พรรคครูไทยเพื่อประชาชน 1 เสียง และสมาชิกวุฒิสภา 159 เสียง

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

13 ส.ว. ที่โหวตเห็นชอบให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

มาดูรายชื่อ ส.ว. ที่โหวตให้คะแนนนายพิธา ได้นั่งเก้าอี้นายกฯ ทั้ง 13 คน ได้แก่

  • ศ.เกียรติคุณ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์
  • พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา
  • เฉลา พวงมาลัย
  • ซากีย์ พิทักษ์คุมพล
  • พล.ต.ท.ณัฏฐวัฒก์ รอดบางยาง
  • ประภาศรี สุฉันทบุตร
  • พิศาล มาณวพัฒน์
  • พีระศักดิ์ พอจิต
  • มณเฑียร บุญตัน
  • วันชัย สอนศิริ
  • วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์
  • สุรเดช จิรัฐิติเจริญ
  • นพ.อำพล จินดาวัฒนะ

ส.ว. หรือสมาชิกวุฒิสภา

โดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ กล่าวไว้ว่า ผมเตรียมโหวตให้คนที่พรรคการเมืองรวมเสียงเกินกึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนฯ เสนอชื่อ เพื่อให้เข้าไปเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากบริหารประเทศต่อไป ใช้เหตุผลเดียวกันกับที่เคยใช้ตอนโหวตเลือก นรม. (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เมื่อปี 62 จะกลับกลิ้งเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ประวัติศาสตร์จะจารึกและบันทึกไว้ครับ

โดยนายพีระศักดิ์ พอจิต กล่าวไว้ว่า เหตุผลที่โหวตให้ “พิธา” เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะยึดหลักการโหวตให้เสียงข้างมากของ สส.ที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนมาแล้ว และย้ำว่าไม่มีใครสามารถแทรกแซงตัวเขาได้ ข้อกังวลเรื่องการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นั้นเขามองว่า การแก้ไขมาตรา 112 เป็นขั้นตอนหลังจากนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการโหวตนายกรัฐมนตรี และเสียงของพรรคก้าวไกล มี 151 เสียง หากพรรคการเมืองอื่นไม่เห็นชอบด้วย กฎหมายนี้ก็จะไม่ผ่าน

โดยพรรคก้าวไกลได้คะแนนจากการเลือกตั้งเป็นอันดับ 1 ด้วยคะแนน 14,438,851 คะแนน และได้ส่งนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นแคนดิเดต นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย

ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถสรุปผลได้ เนื่องจากผลการโหลตครั้งที่ 1 คะแนนเสียงไม่ถึงครึ่งหนึ่ง และจะมีการโหวตครั้งที่ 2 ในวันที่ 19 กรกฏาคม 2566 ที่กำลังจะมาถึงนี้