พาเที่ยว

อ่าวคุ้งกระเบน ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

วันนี้อุมาจะมาชวนไปเที่ยว ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำได้ไหมเมื่อครั้งก่อนพาไปเที่ยวทะเลเจ้าหลาว – แหลมเสด็จแล้ว ได้พูดเกริ่นถึง อ่าวคุ้งกระเบน ไว้ วันนี้แหละจะมาพาไปชมแบบจุใจกันเลย

เรามาทำความรู้จักกับ อ่าวคุ้งกระเบน หรือศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริกันก่อน สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งได้เริ่มก่อตั้งตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 นั่นเอง เพื่อที่จะจัดสรรโครงการพัฒนาด้านอาชีพการประมงและเกษตรในเขตพื้นที่ดินชายฝั่งทะเลจันทบุรี แล้วทำไมถึงเรียกว่า อ่าวคุ้งกระเบน ก็เพราะว่าตัวอ่าวจะเหมือนปลากระเบนนั่นแหละ ในส่วนของ

การเดินทางที่จะไป อ่าวคุ้งกระเบน สามารถไปได้ 2 ทาง คือ เส้นที่มาจากสุขุมวิท ก่อนถึงตัวเมืองจันทบุรี ให้แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 3399 แล้วเราจะพบป้ายทางแยกหาดต่างๆ ส่วนอีกทางหนึ่งมาจากอำเภอท่าใหม่

แถวบ้านของอุมาเลย ห่างกันแค่ 17 กิโลเมตร  แง้น ๆ ไปเองสบาย ๆ อาเฮียบอกว่า เมื่อก่อนนี้ จะมีรถสองแถวรับจ้าง พาไปด้วยนะ เหมือนรถกระป๋องประมาณนั้น แต่เดี๋ยวนี้เราไม่เคยเห็นแล้ว อาจจะต้องออกไปทางด้าน ริมถนนสุขุมวิทน่าจะมี

จุดถ่ายรูป อ่าวคุ้งกระเบน ป่าชายเลนจันทบุรี

ถ้าขับรถมาจากทางท่าใหม่ ก่อนไปถึง อ่าวคุ้งกระเบน เราจะเจอวงเวียนปลาพะยูน ซึ่งสร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ “หมูดุดเจ้าแห่งคุ้งกระเบน”  เมื่อไม่นานมานี้ อุมาไปเรียนรู้ Project เรื่องป่าชายเลน กับเด็ก ๆ อนุบาล 3/3  โรงเรียนยอแซฟวิทยา

ได้เข้าไปฟังบรรยายในห้องและได้ดูคลิปวีดีโอการ์ตูนสั้น ๆ ที่เจ้าหน้าที่นำมาเปิดให้ดู เกี่ยวกับเรื่องอดีตของป่าชายเลน อ่าวคุ้งกระเบน เขาบอกว่าเมื่ออดีต ป่าชายเลนมีเยอะมาก จนชาวบ้านเข้ามาจัดสรรปันส่วนและประกอบอาชีพ

จึงทำให้เนื้อที่ของป่าชายเลนหดหายไป รวมถึงมีขยะ มีสิ่งปฏิกูล ต่าง ๆ มากมาย ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ท่านเลยพระราชดำริ ให้ข้าราชบริพาร มาช่วยกันดูแลป่าชายเลน จึงเกิดเป็นศูนย์ศึกษาฯ ตรงนี้ขึ้น หลังจากที่ท่านเข้ามาดูแลเรื่องตรงนี้

ทางเดิน อ่าวคุ้งกระเบน ป่าโกงกางจันทบุรี ป่าชายเลนจังหวัดจันทบุรี

ทะเลดูดีขึ้น แต่ไม่ได้เทียบเท่าความสมบูรณ์ของเมื่อก่อนโน้น ที่ผืนป่าชายเลยยังไม่ถูกทำลาย และตั้งแต่นั้นมาปลาพะยูนหรือหมูดุด ไม่เคยกลับมา ที่นี่อีกเลย มันเป็นเรื่องน่าเศร้ามาก แต่เรื่องมันเกิดและผ่านไปแล้ว เราต้องมาปรับตัว

และใช้ชีวิตให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ โดยไม่เบียดเบียนเขา จะดีที่สุด มาต่อกับเรื่องศูนย์การศึกษาฯ ตรงนี้เหมือนสวนสาธารณะป่าชายเลนใหญ่ ๆ ถ้าเราจะใช้เวลาในการเดินชมนก ชมไม้ เดินดูทุก ๆ สิ่งทุก ๆ อย่างให้รอบ จะใช้เวลาเดินชม

ประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง กับระยะทาง 1,793 เมตร  และทางเดินไม้ตะเคียนทองที่ถูกสร้างขึ้น ยื่นเข้าไปในป่าชายเลน เสมือนเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อให้ประชาชนที่สนใจ เข้ามาดู เข้ามาศึกษาสภาพธรรมชาติของป่าชายเลน

ต้นลำพู mangrove forest สถานที่เที่ยวจันทบุรี

เพื่อให้ได้รู้จักถึงประโยชน์ของป่าชายเลน ว่ามันมีประโยชน์อะไรบ้าง วันนั้นที่มาเรียนรู้นอกสถานที่กับเด็ก ๆ เจ้าหน้าที่ พี่มะปราง รับหน้าที่บรรยายให้กับเด็ก ๆ ฟัง ตลอดการเดินศึกษาธรรมชาติ เราจะได้เจอ พันธุ์ไม้เยอะแยะมากมาย

อย่างเช่น ต้นโกงกางใบเล็ก ต้นโกงกางใบใหญ่ ต้นแสมทะเล ลำพูทะเล ป่าสักดอกแดง และอื่น ๆ อีกเยอะแยะ ในแต่ละจุดจะมีป้ายกำกับชื่อต้นไม้ สายพันธุ์ โดยตามเส้นทางจะมีศาลาให้พักหลบร้อน พร้อมป้ายให้ความรู้ ศาลาที่ 1

เป็นศาลาที่อธิบายเกี่ยวกับการกำเนิด อ่าวคุ้งกระเบน และป่าชายเลน ศาลาที่ 2 ต่อแสม กับเรื่อง ป่าชายเลยคืออะไร ศาลาที่ 3 ดงฝาด จะพูดเกี่ยวกับเรื่องการสืบพันธุ์ของต้นไม้ที่อยู่ในป่าชายเลน แล้วระบบรากต่าง ๆ ของต้นไม้ อย่างเช่น

ทางเดิน ป่าชายเลย ต้นไม้ในป่าชายเลน

ต้นโกงกาง ฝักเมล็ดจะมีลักษระยาว ๆ เหมือนถั่วฝักยาว แต่แข็งและมีน้ำหนักกว่า พอถึงเวลา มันจะปักลงมาในดินเลน เพื่อที่จะเจริญเติบโตต่อไป แต่ถ้าอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมกับการโต มันจะค่อย ๆ ลอยน้ำไปจนถึงที่ ที่สามารถปัก

ตัวเองลงดินเลนได้ และเจริญเติมโตขึ้น ตัวฝักโกงกางจะมีสารชนิดหนึ่งเคลือบอยู่ ทำให้ไม่เป็นเชื้อราและไม่เน่า แล้วพี่มะปราง ยังอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างของราก จากต้นไม้ภายในป่าชายเลน ที่มีลักษณะแตกต่างกัน มีรากค้ำยัน

เป็นของต้นโกงกาง ซึ่งลักษณะคล้าย ๆ สะพานโค้ง รากหายใจ ลักษณะเป็นแท่งแหลม ๆ ขึ้นมา เหมือนกิ่งไม้แห้งตายโผล่ขึ้นมา รากหายใจรูปร่างคล้ายหัวเข่า จะเป็นตะปุ่ม ตะป่ำ ขึ้นมาจากน้ำ ยังมีรากพูพอน เป็นรากเหมือนปีกของต้นไม้

ป่าโกงกาง ปลูกป่าชายเลน อ่าวคุ้งกระเบนจันทบุรี

ต่อไปที่ศาลาที่ 4 ปลูกป่า เป็นศาลาที่เรียนรู้เกี่ยวกับป่าปลูก พี่มะปรางบอกว่า ป่าชายเลยเปรียบเสมือนวงจรโซ่อาหาร ระบบการพึ่งพาในธรรมชาติของป่าชายเลน ศาลาที่ 5 ศาลาปู่แสม เราจะพบกับคุณปู่ในตำนาน ต้นแสมขาว

ที่ปู่มีอายุมาราว 100 ปี ศาลาที่ 6 คือ โกงกาง เราได้เรียนรู้ในเรื่อง ประโยชน์และความสำคัญของต้นโกงกาง รวมไปถึงสรรพคุณด้านอาหาร ที่เป็นยาเคลือบกระเพาะด้วยนะ เด็ก ๆ นำเอาใบโกงกางใบเล็ก ที่เป็นยอดอ่อน กลับมา

ปรุงเป็นอาหารโดยเอามาตัดครึ่ง แล้วผ่าเอาก้านใบที่แข็ง ๆ ออก ล้างให้สะอาด นำไปชุบกับแป้งทอดกรอบ ทอดให้กรอบ จิ้มกับน้ำจิ้มไก่ ฟินเว่อร์ อร่อยสุด ๆ ชาวบ้านบอกว่า ยอดอ่อน สามารถกินสดได้เลย กินกับน้ำพริกกะปิอร่อยมาก

ทางเดินไม้ ปากอ่าวคุ้งกระเบน ป่าชายเลนภาคตะวันออก

ศาลาที่ 7 ป่าไม้ ประมง เป็นศาลาที่เรียนรู้เรื่องการทำประมง และการเลี้ยงปลากระพงขาว ศาลาที่ 8 ลำพู เป็นศาลาที่สอนเกี่ยวกับไม้ในวงลำพู และทำไมต้นลำพูถึงมีหิ่งห้อยมาเกาะ ใครอยากรู้ต้องแวะมาดูกันเอาเองนะ ว่าเพราะอะไร

ในส่วนของศาลาที่ 9 ประมง เค้าสอนเกี่ยวกับเรื่องการเลี้ยงกุ้ง ว่าเลี้ยงอย่างไร ไม่ทำให้น้ำเสีย และรักษาสภาพแวดล้อมด้วยการบำบัดน้ำเสีย ศาลาที่ 10 เชิงทรง เรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยา นอกจาก 10 ศาลาที่ได้เล่ามาแล้ว

ยังมีจุดพักผ่อนอื่น ๆ ให้แวะศึกษา แวะชม แวะถ่ายรูปเยอะมาก ทั้งศาลาชมวิว ไหนจะหอดูนกที่สูงกว่า 15 เมตร ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่สูงมาก สามารถมองเห็นวิวแบบ 360 องศาได้ทั่ว อ่าวคุ้งกระเบน เลยทีเดียว และศาลาที่อุมาชอบมาก

หอดูนกจันทบุรี สถานที่ริมป่าชายเลน ป่าชายเลนจันทบุรี

คือ ศาลาเรือคายัค มีเรือคายัคไว้บริการ ให้พายชมวิวทางทะเลรอบอ่าวได้ จำไม่ได้ว่าเค้าคิดค่าบริการต่อคน คนละเท่าไหร่ ช่วงโควิด – 19 มา เค้าปิดยังไม่เปิดให้ไปใช้บริการ จนตอนนี้โควิดรอบ 3 แล้ว ไม่รู้จะได้ไปพายเรือเล่นได้อีกเมื่อไหร่

ยังมีศาลาพะยูน ตรงนั้นจะมีรูปปั้นหมูดุดอยู่ เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจไว้ว่า ก่อนหน้านี้เราเคยมีพะยูนอยู่ที่นี่ เพราะตรงนี้ ในสมัยก่อนเป็นแหล่งอาหารของพะยูน พวกหญ้าทะเล เช่น หญ้าผมนาง หญ้าชะเงา หลังจากเกิดการรุกล้ำของคน

ทำให้พื้นที่ที่เป็นหญ้าทะเลหมดไป พออาหารหมด พะยูนจึงหายไปด้วย พะยูนตัวสุดท้าย ที่มีผู้คนพบเห็นในอ่าวคุ้งกระเบน ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2533 ปัจจุบันนี้ปี พ.ศ. 2564 ยังไม่มีใครพบเห็นน้องพะยูนอีกเลย ทุก ๆ ครั้งที่เราไป

สะพานเชือก สถานที่ท่องเที่ยวจันทบุรี ทะเลเมืองจันท์

เราจะไปยืนดู หวังว่าจะเป็นคนที่โชคดีที่สุด ที่ได้เห็นพะยูนกลับมา พะยูนเป็นสัตว์ป่าสงวนที่เป็นสัตว์น้ำ พะยูนไม่ใช่ปลา พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีภาษาเรียกตามถิ่น ว่าหมูดุด บางคนอาจจะเรียกหมูน้ำหรือวัวทะเล เขาจะคล้าย ๆ

แมวน้ำขนาดใหญ่  ตัวอุ้ยอ้าย เทอะทะ ตัวเมียจะมีนม 2 เต้า ไว้ให้เบบี้กิน และเขาใช้ปอดในการหายใจ การหายใจ 1 ครั้ง พะยูนจะอยู่ในน้ำได้ประมาณ 20 นาที ทีเดียว นอกจากต้นไม้แล้ว ถ้าสังเกตดี ๆ อาจจะเจอพวกนกยางเปียง

อีกด้วย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จะเปิดให้บริการตั้งแต่ 8.00 น. ถึง 16.00 น. หรือถ้าใครมาเป็นหมู่คณะ สามารถโทรติดต่อได้ที่เบอร์ 039 4 33 216 – 8 ระหว่างทางเดินไม้ที่ทอดยาวแสนไกล

สะพานไม้ ป่าชายเลน อ่าวคุ้งกระเบน tourist travel

อยากบอกทุกคนให้ตั้งใจฟังเสียงของธรรมชาติรอบตัว เสียงลมพัด เสียงใบไม้ไหว เสียงของปูที่เดิน เสียงของปลาตีนที่กำลังกระโดด แม้กระทั่งเสียงของกุ้งดีด เราจะได้ยินชัดเจน พอถึงปากอ่าว เราจะได้รับลมเย็น ๆ และเห็นวิว

ที่ทอดยาวไปไกลสุดลูกหูลูกตา ถ้าผ่านมาจังหวัดจันทบุรี สถานที่แห่งนี้เป็นอีกหนึ่งจุด ที่อยากให้แวะมาชม มาเรียนรู้ แล้วเราจะรู้ว่า เราควรรักษาธรรมชาติให้สวยงาม อุดมสมบูรณ์อยู่สืบเนื่องต่อไป เรายังมีความหวังว่าอาจจะ

ได้พบกับพะยูนน้อย ตัวกลม ๆ ที่แวะมาว่ายน้ำเล่น มากินหญ้าทะเล อยู่ในบริเวณอ่าวคุ้งกระเบนอีกครั้งก็ได้ ถ้าทุกคนรักธรรมชาติ ให้เหมือนรักตัวเอง ตอนนี้โควิด – 19 กลับมาเยือนอีกแล้ว ทุก ๆ คนขอให้รักษาสุขภาพ การ์ดอย่าตก

อ่าวคุ้งกระเบน tourist Chanthaburi
อ่าวคุ้งกระเบน จันทบุรี

ทุกครั้งที่มีการเดินทาง ไม่ว่าจะไปที่ไหน มักจะมีความทรงจำที่ดีเสมอ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ใส่แมสแล้วเจอกันใหม่ มาลุ้นกันว่าอุมาจะพาไปไหน (ไม่รู้) กับชิลล์แก๊งค์ อีกนะ ฝากเพจ ออกเที่ยว-ก่อนที่จะยืนเยี่ยวไม่ไหว  ของเราด้วย

แผนที่อ่าวคุ้งกระเบน

See you soon.