สุขภาพ

โรคซึมเศร้า Depression เข้าข่ายเป็นหรือเพียงแค่เครียด สังเกตสัญญาณก่อนเสี่ยง

มีหลาย ๆ คน ที่คนรอบข้างป่วยเป็น โรคซึมเศร้า และไม่รู้ว่าจะช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นอย่างไร จะพูดอย่างไรให้เค้ารู้สึกคลายกังวล จะปฏิบัติอย่างไร

คนเหล่านี้ถึงจะมีความสุขบ้าง และคนหลาย ๆ คนไม่รู้เลยว่าตัวเองป่วยด้วยโรคนี้อยู่ วันนี้เราจะมาพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคนี้ไปพร้อม ๆ กัน

ย้อนรอยข่าวดารากับ โรคซึมเศร้า

มัจจุราชเงียบแสนอันตราย ภัยร้ายในหัวใจ ที่คร่าชีวิตใครต่อใครไปหลายคน ครั้งแล้วครั้งเล่านับไม่ถ้วน ถึงแม้ตอนนี้ในสังคมเริ่มเข้าใจผู้ป่วยโรคนี้มากขึ้น

หลาย ๆ คนต่างช่วยกันหาทางรักษาคนใกล้ตัว ให้ผ่านพ้นโรคนี้ไปให้ได้ แต่บ่อยครั้ง เราจะได้ยินข่าวร้าย ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับใคร และเลือกจบชีวิตอย่างน่าเศร้า

หนีไม่พ้นแม้กระทั่งดารา นักร้อง นางแบบ มีหลายคนจากไป ก่อนหน้านี้ หนุ่มเต๋า จิรายุทธ ผโลประการ หรือ UrboyTJ แร็ปเปอร์หนุ่มชื่อดัง ได้ออกมา

บอกว่า ช่วงนี้เค้าจะต้องหยุดงานก่อน ขอพักรักษาตัวจากอาการ โรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นถึงขั้นหนักมาก เค้าได้เข้ารักษาอาการมาก่อนหน้านี้แล้ว จนสามารถ

กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่เมื่อไม่นานมานี้ หนุ่มเต๋า TJ ได้ออกโพสต์ใน IG ส่วนตัวว่า โรคที่กำลังเป็นอยู่และไบโพลาร์นั้น กำลังเข้าขั้นวิกฤตหนักมาก

เลยต้องหยุดงานอีกครั้ง เพื่อรักษาตัว ไม่รู้ว่าต้องใช้เวลาอีกนานแค่ไหน ถึงจะกลับมา Entertain คนดูได้เหมือนเดิม หลาย ๆ คนจึงพร้อมใจกันส่งกำลังใจ

ให้คุณเต๋า TJ กันอย่างล้นหลาม ซึ่งถือเป็นเรื่องดี รู้ตัวและเข้ารับการรักษา เป็นกำลังใจให้ด้วย ขอให้หายและกลับมาร้องเพลงให้แฟนคลับฟังอีก

เต๋าTJ จิรายุทธ โรคซึมเศร้า ภาวะซึมเศร้า

เรามองย้อนกลับไปในช่วงหลายปีมานี้ ภัยเงียบจากโรคนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย เพราะในอดีตมีคนที่มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง เลือกจะจบชีวิตตัวเองลง

ก่อนวัยอันควร ทั้ง ๆ ที่ภายนอกนั้นพวกเค้านั้น มีพร้อมทุกอย่างในชีวิต มีรถ มีบ้าน มีเงินทอง มีชีวิตดูแล้วไม่ขัดสนใด ๆ เลย จนคนทั่วไปอย่างเรา ๆ อิจฉา

ได้อยู่ในแวดวงสังคมไฮโซ ไม่น่าเชื่อว่าพวกเค้าจะเลือกจบชีวิตตัวเอง อย่างนักร้องนำวงร็อกเฮฟวีเมทัลชื่อดัง Linkin Park เชสเตอร์ เบนนิงตัน

ตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง ขณะอายุเพียงแค่ 41 ปี แม้กระทั่งดาราดังฮอลลีวู้ดอย่างหนุ่ม ฮีธ เลดเจอร์ โจ๊กเกอร์ ในหนังภาคต่อแบทแมน

เรื่อง The Dark Knight จากไปด้วยวัยเพียง 28 ปี และยังมีดาราอีกหลาย ๆ คน ที่กำลังเป็นโรคนี้อยู่ และพยายามต่อสู้กับโรคนี้อยู่

โรคซึมเศร้า ภาวะซึมเศร้า ซึมเศร้า สุขภาพจิต

โรคซึมเศร้า คืออะไร

โรคนี้หลาย ๆ คนมองว่าเป็นการเรียกร้องความสนใจบ้าง สร้างจุดเด่นบ้าง อยากได้ความรักบ้าง แต่ความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่เลย

โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของสมอง ทำให้มีผลกระทบต่อความคิด ความรู้สึก อารมณ์ พฤติกรรม และสุขภาพทางกาย โดยคนส่วนใหญ่

รู้เพียงแค่ว่า อาการจะเกี่ยวกับสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไป  โดยเหมารวมไปว่า โรคนี้มักเกิดจากคนที่มีความผิดหวัง หรือมีอะไรไปกระทบกระเทือน

จิตใจ โดยคนในครอบครัวนั้ต้องให้กำลังใจ เพื่อเป็นการแก้ไข เป็นการรักษาอาการของโรคนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคซึมเศร้า เกิดจาก

ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด ได้แก่ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน ดังนั้นโรคนี้จำเป็นอย่างมากในการเข้าพบ จิตแพทย์

เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เรียนรู้วิธีบำบัดอย่างถูกวิธี รวมถึงใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย โดยคุณหมอจะมีการตรวจสอบ เริ่มจาก

ดูจากร่างกาย ตรวจสอบดูว่ามีความผิดปกติ หรือมีโรคใดนำพาไปสู่การเป็นซึมเศร้าหรือไม่ โดยจะมีเครื่องมือ ที่เรียกว่า CT Scan

หรือตรวจ EKG หัวใจ ทำให้รู้ผลได้ละเอียด แม่นยำ หากพบว่าเป็นซึมเศร้าจริง แพทย์จะทำการรักษาตามความแรงของโรค

อาการซึมเศร้า

ปัจจัยเสี่ยงภาวะซึมเศร้า

  1. พันธุกรรม พบว่าเด็กที่มีพ่อหรือแม่ มีภาวะซึมเศร้า จะมีอัตราการเป็นภาวะซึมเศร้างได้สูงกว่าเด็กปกติทั่วไป
  2. สารเคมีในสมอง ผู้ป่วยซึมเศร้านั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ
  3. ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคม ไม่ว่าจะเป็น การเลี้ยงดูลูก การเลี้ยงดูลูกเชิงลบ ความรุนแรงในครอบครัว การใช้ความรุนแรงในการเลี้ยงดูลูก หรือมีเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ การสูญเสียคนรัก คนสำคัญในชีวิต ครอบครัวแตกแยก การหย่าร้องของพ่อแม่ การถูกทอดทิ้ง การถูกบูลลี่จากสังคม เป็นต้น
  4. ความวิตกกังวลสูง ไม่มีความภูมิใจในตนเอง หนีปัญหา มองโลกในแง่ร้าย โทษแต่ตนเอง คนลักษณะนี้จะมีโอกาสเป็นภาวะซึมเศร้าได้
  5. ยาบางชนิด ส่งผลต่อฮอร์โมน อาจทำให้สารเคมีในสมองนั้นเกิดเป็นอาการภาวะซึมเศร้าได้

สังเกตอาการภาวะซึมเศร้า

  1. เหนื่อยง่าย  ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง ทำอะไรเฉื่อยชา ทำช้า แม้กระทั่งการพูดยังพูดช้าอีกด้วย
  2. ไม่อยากอาหาร เบื่ออาหาร หรือบางคนกินอาหารมากเกินไป
  3. ไม่มีสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง กระวนกระวาย
  4. มองโลกในแง่ลย คิดว่าตัวเองไร้ค่า
  5. ไม่มีความสุขในการทำกิจกรรมใด ๆ เบื่อเหนื่อยไปทุกสิ่ง
  6. หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย และเศร้าซึม
  7. นอนไม่หลับ นอนกระสับกระส่าย หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือในบางคนหลับแบบไม่อยากตื่น
  8. ทำร้ายตัวเอง มีความคิดอยากตาย

ซึมเศร้ารักษาได้ โรคซึมเศร้า ภาวะซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า ป้องกันได้

  1. ฝึกทำสมาธิ เริ่มได้ง่าย ๆ ด้วยการหลับตานับ 1 – 10 ช้า ๆ พร้อมผ่อนลมหายใจเข้า – ออก อย่างเป็นยังหวะ ทำให้สมองผ่อนคลาย ลดความเครียดได้
  2. การฝึกคิดบวก คนเราต้องป้องความคิดดี ๆ ให้กับตัวเองอยู่เสมอ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับจิตใจ
  3. การพักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น ไม่เหนื่อย ไม่อ่อนเพลีย
  4. การออกกำลังกาย ถ้าไม่รู้จะเริ่มยังไง ทดลองด้วยการหยิบรองเท้าผ้าใบ แล้วพาตัวเองออกไปเดินเล่นนอกบ้านก่อน แล้วค่อยปรับมาเป็นการออกกำลังกาย
  5. อาหาร ทานให้ครบ 5 หมู่ เพราะวิตามินบางตัวอย่าง โอเมก้า 3 เหล็ก ทองแดง C E D สำคัญมากต่อสมอง

ภาวะซึมเศร้า ปัญหาทางใจ สามารถรักษาได้ คนแต่ละคนต่างต้องมีเรื่องเครียด เรื่องให้กังวล มีความรู้สึกผิดหวัง และมีอารมณ์เศร้า ในชีวิตประจำวันอยู่แล้วแน่นอน

ถ้าเราต้องพบเจอกับการสูญเสีย หรือพบเรื่องเลวร้าย อุปสรรคต่าง ๆ ในชีวต เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาพริบตาเท่านั้น แต่ความรู้สึกของความเศร้า

ความเครียดยังคงอยู่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า คุณอาจมีภาวะซึมเศร้า แต่สามารถรักษาให้หายได้ หากอาการไม่รุนแรงมาก

คนที่สามารถควบคุมจิตใจตัวเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งยา ควรปรับพฤติกรรมของความคิดและอารมณ์ของเราให้คงที่ ไม่มีอะไรจะพูดมากไปกว่า “กอดนะ ”

เราเองอาจจะช่วยอะไรคุณไม่ได้มากมายนัก แต่อยากให้รู้ไว้ว่า เราอยู่ข้าง ๆ คุณนะ อีกไม่นานทุกอย่างจะดีขึ้น เราจะอยู่ข้างๆ คุณเสมอ