ดราม่าออนไลน์

พระออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ ลดอ้วน เกิดดราม่า ชาวเน็ตเสียงแตก

เห็นมีข่าวเรื่อง พระออกกำลังกาย และกำลังเป็นดราม่าอยู่ในช่วงนี้ มีหลาย ๆ ความคิด มีทั้งเห็นด้วยว่ามันดีต่อสุขภาพ ในส่วนที่ไม่เห็นด้วย

บางคนติงว่าไม่เหมาะสม ไม่สำรวม หรือถ้าอยากออกกำลังกาย ไม่ควรนำภาพมาเผยแพร่ทางโซเชียล บรา บรา บรา พระท่านจึงทำตัวไม่ถูก

วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้กันว่า การออกกำลังกายของพระสงฆ์ อาบัติผิดศีลตรงไหน อะไรบ้าง และสามารถทำได้หรือไม่ ตามไปดูกัน

เสียงแตก พระออกกำลังกาย ผิดหรือไม่

เรื่องมีอยู่ว่า เพจ ข่าวสารงานพระพุทธศาสนา ได้มีการโพสต์รูปภาพของพระสงฆ์และสามเณรหลายรูปอยู่ในห้องลักษณะคล้ายฟิตเน็ต

โดยในภาพพระสงฆ์กำลังออกกำลังกาย โดยใช้เครื่องออกกำลังกาย โดยมีนักวิทยาศาสตร์สุขภาพ ให้การดูแลและแนะนำ

โดยทางเพจมีแคปชั่นประมาณว่า หลวงพ่อเข้าใจวิถีชีวิตพระสงฆ์ – สามเณร สุขภาพพระสงฆ์ ส่งนักวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ที่เป็นเทรนเนอร์มืออาชีพมาให้การดูแล โรคอ้วนและ NCD ไม่มีท่านใดเป็นสักรูปเดียว โดย หมอต่าย อย่างที่บอก เสียงแตกออกเป็น 2 ฝ่าย

ทางฝ่ายที่มองว่าไม่เหมาะสม บอกว่า การเดินจงกรม การกวาดลานวัด การที่พระสงฆ์เดินออกบิณฑบาต นั่นคือการออกกำลังกาย

พระบัวขาว พระออกกำลังกาย พระนักมวย

ตามกิจของสงฆ์อยู่แล้ว และในมงคลสูตร การฝึกโยคะเป็นมงคลอย่างหนึ่ง หรือจะเป็นโภชเนมัตตัญญุตา พระพุทธเจ้าท่านได้สอนไว้หมดแล้ว

เพียงแค่พระสงฆ์ สามเณรทำตาม การไปเข้าฟิตเน็ต การออกกำลังกาย หรือการเข้าฟิตเน็ต จึงไม่ใช่เรื่องจำเป็นของพระสงฆ์แต่อย่างใด

หลังภาพเผยแพร่ไป มีเสียงวิจารณ์ออกเป็น 2 ฝ่าย ทั้งที่มองว่าไม่เหมาะสม มองว่าตามหลักศาสนาพุทธแล้ว การออกกำลังกายของกิจของสงฆ์มีหลายอย่าง

ในมงคลสูตร โยคะเป็นมงคลอย่างหนึ่ง รวมทั้งการเดินจงกรม เดินบิณฑบาต กวาดลานวัด วิชาหลักโภชนาการ (โภชเน มตฺตญฺญุตา’ ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภช นะ

คือ หลักในการฉันของพระ  ‘พระไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธในอาหารที่บิณฑบาต แต่พระมีสิทธิ์ในการควบคุมปริมาณในการฉันให้พอเหมาะพอดี)

อาหารใส่บาตรพระ พระออกกำลังกาย พระกินอาหารไม่ดี

พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้หมดแล้ว ถ้าทำตามจะไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายดังในภาพ ในส่วนของฝ่ายที่เห็นด้วย อยากให้พระท่านดูแลสุขภาพร่างกาย

ซึ่งการออกกำลังกายถือเป็นเรื่องที่ดี พระเองก็เป็นคน การรักษาศีลไม่ได้ช่วยให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น อีกอย่างยุคสมัยมันเปลี่ยนไปถึงไหนแล้ว

ในภาพที่เอามาลง เค้าก็บอกไว้ชัดเจนว่า สถานที่มิดชิด มีผู้เชียวชาญคอยดูแลและให้คำแนะนำ หลังจากภาพนี้ถูกโพสต์ออกมาไม่นาน

ทางด้านพระราชธรรมนิเทศ หรือ พระพยอม กัลป์ยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี ได้ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ประมาณว่า จริง ๆ แล้วการออกกำลังกาย

เป็นเรื่องดีเกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพ เพียงแต่ว่าภาพที่เห็นอาจจะดูไม่ดี ในสมัยก่อนนั้น หลวงพ่อนอ ท่านเล่นโยคะ จึงไม่เคยเจ็บป่วย แต่ท่านไม่เคยออกมาบอกใครต่อใคร

ท่านปฏิบัติอยู่แต่ในกุฏิตามลำพัง ทางสาธารณสุขอาจจะหวังดี ห่วงใยพระสงฆ์ สามเณร หรือหวังดีประสงค์ร้ายหรือไม่ ให้คิดกันเอาเองละกัน พระควรจะรักษาขอบเขต

ได้สุขภาพแต่ผู้คนอาจจะเสียศรัทธา คิดให้ดีก่อน ถ้าภาพนี้ไม่ถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชนจะดีกว่า พอภาพออกมา เท่ากับถ่ายออกมาให้คนอื่นประจาน

ตามหลักบอกว่า การบิณฑบาตนั้นเท่ากับออกกำลังกายแล้ว ถึงจะไม่ผิดขั้นอาบัติอะไรมากมาย แต่ผิดเรื่องสารรูป พระพยอมกล่าวอีกด้วยว่า

ควรจะออกกำลังกายภายในกุฏิของตัวเองจะดีกว่า หรือในที่ลับ ๆ ไม่ควรถ่ายรูปโชว์ เพราะมันดูไม่ดี เพราะพระมีข้อปฏิบัติให้แลดูงามและดูดี

พระออกกำลังกาย พระเข้ายิม พระเข้าฟินเนต

พระอ้วน เพราะอะไร

หลาย ๆ คนเวลาทำบุญ ใส่บาตร มักจะซื้อตามร้านขายอาหาร อย่างที่เราเห็นอาหารที่ร้านจัดชุดไว้สำหรับบริการไว้ จะมี ข้าวสวย 1 ถุง กับข้าว 1 ถุง ขนมหวาน 1 ถุง น้ำ 1 ขวด

โดยส่วนใหญ่กับข้าว มักเป็นแกงที่ใส่กะทิ อย่างเช่น แกงเขียวหวาน แกงคั่วสับปะรดหมู แกงเผ็ดเป็ดย่าง  แกงพะแนงหมู เป็นต้น ในส่วนของขนมหวาน เห็นบ่อย ๆ

จะมีทองหยิบ ทองหยอด ขนมชั้น เต้าส่วน บัวลอย ถั่วเขียวต้ม สาคู วุ้นกะทิ แต่ละอย่างที่พูดมานี่หวานมากเลยนะ มีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาลทรายทั้งนั้นเลย

ยังไม่รวมเรื่องของน้ำดื่มถวายน้ำเปล่าจะไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็น ชาเขียว กาแฟกระป๋อง เครื่องดื่มบำรุงกำลังต่าง ๆ หรือน้ำอัดลม ต่อให้พระท่านฉันเพียงแค่มื้อเพล 1 มื้อ

อาหารแบบนี้สามารถทำให้ท่านอ้วนได้แน่นอน ยกตัวอย่าง ชาเขียวน้ำผึ้ง ยี่ห้อ 1 ฝาสีเขียว ขนาด 500 มล. จะมีน้ำตาลประมาณ 54.5 กรัม หรือประมาณ 13.6 ช้อนชา

ข้อมูลนี้มาจาก รวมปริมาณน้ำตาล ในชาเขียว (พร้อมดื่ม)   ถ้าพูดตามตรงเรื่องปริมาณของน้ำตาลในอาหาร เป็นตัวแปรสำคัญในการที่ใครสักคนจะเป็นโรคอ้วนได้

ไม่ว่าจะทำให้เลือดเป็นกรด ทำให้เกิดไขมันสะสม ฟันผุ กระดูกเปราะ และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ รวมไปถึงโรคภัยมากมายกำลังจะถามหาด้วย

ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไขมันพอกตับ เป็นต้น นี่แหละทำไมพระฉันน้อยมื้อ ถึงยังเสี่ยงอ้วนได้ การทานน้อยมื้อไม่ได้หมายความว่า

คน ๆ นั้นจะผอม มันขึ้นอยู่กับประเภทของอาหารที่กิน สารอาหารที่ได้รับในแต่ละมื้อนั่นเอง ปัญหาสุขภาพของพระสงฆ์ของประเทศไทย

ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันเป็นประจำ มีอยู่ครั้งหนึ่ง รศ. ดร. ภญ.  จงจิตร อังคทะวานิช อาจารย์ประจำคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระทำโยคะ พระออกกำลังกาย

อาจารย์ท่านนี้เป็นผู้จัดการโครงการขับเคลื่อนสงฆ์ไทยไกลโรค (สสส.) บอกว่าพระสงฆ์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลจำนวนมากกว่า 50% นั้นอ้วนเกินไป

จากพระทั่วทั้งประเทศไทย และพบเรื่องของโรคหลอดเลือด โรคปอด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันเลือดสูง และโรคไขมันในเลือดสูง

นอกจากเรื่องของอาหารเป็นปัจจัยสำคัญแล้ว ยังมีอีกสาเหตุ นั่นคือ ในเขตกรุงเทพนั้น พระออกกำลังกาย น้อย การเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวัน

ไม่ว่าจะเป็น การเดินบิณฑบาต (ระยะทางที่เดินสั้นกว่าพระที่อยู่ในต่างจังหวัด) การกวาดลานวัด การเดินจงกรม ไม่สามารถช่วยในการเผาผลาญพลังงาน

ในแต่ละวันของพระสงฆ์ได้ อาหารของชาวบ้านคิดว่าดีที่สุด อาจจะเป็นอาหารที่ก่อให้เกิดปัญหาให้กับสุขภาพของพระ พิซซ่า มันฝรั่งทอด ไก่ทอด KFC

โดนัด น้ำอัดลม ทั้งหลายแหล่ ส่งผลให้พระสงฆ์มีสุขภาพอ่อนแอ เพราะฉันอาหารประเภท junk food และพระท่านขาดการดูแลสุขภาพของตัวเอง

อาหารที่ไม่ควรถวายพระ

พระธรรมวินัยเรื่องการออกกำลังกาย

พระธรรมวินัยไม่ได้กล่าวถึงเรื่องของ พระออกกำลังกาย ไว้โดยตรง เพียงแต่พูดถึงเรื่องห้ามลุ่มหลง รักสวยรักงามในสรีระร่างกายของตนเอง

พระไม่มีความจำเป็นในการออกกำลังกายเพื่อรูปร่างดีเหมือนกับฆราวาส อย่างการไปเตะบอล หรือการไปยกเวทในฟิตเนส ด้วยความที่

สังคมในประเทศไทย ส่วนใหญ่รับไม่ได้กับกิจกรรมการออกกำลังกายแบบนั้น แต่ถ้าเป็น กวาดลานวัด ปัดกวาดโบสถ์ ถูอุโบสถ เช็ดหน้าต่าง

ขัดพื้น ดูแลเสนาสนะ พระสงฆ์สามารถนำมาประยุกต์เป็นการออกกำลังกาย ย่อมทำได้ แต่ถ้าพระสงฆ์มีอาการอาพาธด้วยโรค และท่านจะต้อง

ทำการกายภาพบำบัด สามารถทำได้ เพราะเป็นการรักษาอาการเจ็บป่วย สำหรบพระสงฆ์ที่อยากออกกำลังกาย เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ

อีกทั้งยังไม่ขัดต่อสมณสารูปและพระวินัย ทางวัดต้นสนเมืองอ่างทอง ได้นำท่าการออกกำลังกายป้องกันอาพาธด้ายท่าบริหาร 90 ท่า แบบอานาปานสติ

เป็นการออกกำลังกาย โดยใช้เวลาประมาณ 60 นาที ตลอดระยะเวลาในการออกกำลังกาย เป็นไปด้วยความสำรวม ทำต่อเนื่องในท่านั่งขัดสมาธิ

มีการพับ หด ยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง ดัดแปลง ประยุกต์ ผสมผสานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลลัพท์คือ พระสงฆ์ที่ได้ออกกำลังกาย

ในรูปแบบนี้มีสุขภาพดีขึ้น อาการเจ็บป่วยน้อยลง อีกทั้งยังขยายผลไปสู่วัดในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย นอกจากวัดต้นสนแล้ว ยังมีอีกหลายวัด

ที่นำเอาการเล่นโยคะมาเป็นการออกกำลังกาย ถือว่าเหมาะสมต่อสถานภาพของพระและเณร อย่างเช่น โรงเรียนนันทบุรีวิทยา พระปริยัติธรรมจังหวัดน่าน

ใช้โยคะมาบำบัดอาการภูมิแพ้ และการเป็นไข้หวัดของพระและเณร อีกทั้งยังช่วยลดและบรรเทาในช่วงอากาศหนาวได้ดีอีกด้วย