วัคซีนผสมสูตร วัคซีนสูตรไหนป้องกันเดลต้าได้ และสามารถใช้ได้แล้วจริงหรือไม่
ตอนนี้กำลังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ เกี่ยวกับเรื่องการฉีดวัคซีนสลับชนิดกัน วัคซีนผสมสูตร วัคซีนสูตรไหนป้องกันเดลต้าได้ เพราะหมอไทยมั่นใจ
ว่าสิ่งที่คิดนี้ มาถูกทางแล้ว แพทย์อาวุโสจาก รพ.ศิริราช – จุฬา หนุนให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 แบบ วัคซีนผสมสูตร เพราะเหมาะสมกับสถานการณ์ในไทย
และมีผลการศึกษารองรับด้วย ผู้เชี่ยวชาญไทยพบว่าการให้วัคซีนคนละชนิดจะมีผลดีต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น
คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติของไทย ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เห็นชอบให้ฉีดวัคซีนต่างชนิดร่วมกันได้
โดยผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคเข็มที่ 1 ให้ฉีดเข็มที่ 2 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า โดยฉีดเว้นระยะห่างกัน 3-4 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้า
คำเตือน การใช้ วัคซีนผสมสูตร จากองค์การอนามัยโลก (WHO)
โดย ดร.ซุมยา สวามินาธาน หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ประจำองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาเตือนถึงอันตราย หลังจากหลาย ๆ ประเทศได้มีมติให้
สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคโววิด-19 แบบ วัคซีนผสมสูตร ได้ออกมาเตือนว่า การจับคู่วัคซีน จากหลาย ๆ แบรนด์มาผสมรวมกัน ถือเป็นแนวโน้มที่อันตราย
เนื่องจากมีข้อมูลวิจัยในเรื่องนี้น้อยมาก ทำให้ไม่สามารถทราบผลข้างเคียงได้ว่า หลังจากฉีดไปแล้ว จะมีผลอะไรบ้างซึ่งถือว่าเป็นกระแสนิยมที่ค่อนข้างเสี่ยง
กับการจับคู่ วัคซีนผสมสูตร เพราะไม่มีหลักฐานข้อมูลใด ๆ มารองรับและสนับสนุนในเรื่องนี้ดร.ซุมยา ได้ทวีตข้อความอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องนี้ว่า
หากหน่วยงานด้านสาธารณสุขได้ตัดสินใจแล้ว อยู่บนพื้นฐานข้อมูลเป็นสิ่งที่กระทำได้แต่ประชาชนไม่ควรตัดสินใจเองในเรื่องนี้ และเรายังต้องรอผลการศึกษา
เกี่ยวกับการฉีด วัคซีนผสมสูตร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในส่วนของภูมิคุ้มกันและความปลอดภัย ยังเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการประเมิน ดร.ซุมยา กล่าว
ตัวอย่างการใช้ วัคซีนผสมสูตร ของแต่ละประเทศ
วัคซีนผสมสูตรประเทศไทย
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค ระบุถึง
ผลการศึกษาขั้นต้น ‘วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19‘ ที่มีในประเทศไทย สามารถใช้ป้องกันโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้าได้ ซึ่งมีดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนานักวิจัยไวรัสวิทยา
นพ.เขตต์ ศรีประทักษ์ สถาบันโรคทรวงอก ตอนนี้วัคซีน mRNA , Protein subunit ยังไม่มีเข้ามาในประเทศไทยเรา ดังนั้นจึงต้องมีการบริหารวัคซีนที่มีอยู่แล้ว 2 ชนิด
ได้แก่ วัคซีนซิโนแวค (Sinovac) หรือ วัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) หรือ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (Astra Zeneca)ต้องรีบหาคำตอบว่า วัคซีนผสมสูตร
สูตรใดที่จะป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้ โดยผลการศึกษาเบื้องต้นนั้น พบว่า การฉีดวัคซีนซิโนแวคไปแล้ว 2 เข็มจะมีภูมิ Neutralize antibody
เพิ่มมาขึ้น 80 – 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่สามารถป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้เลย ในส่วนของการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า2 เข็มนั้น สามารถป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้ดีในระดับหนึ่ง
ในส่วนของผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อสายพันธุ์อัลฟ่า B.1.1.7 ซึ่งรักษาหายแล้ว เมื่อ wave 3 ที่ผ่านมารับได้การกระตุ้นด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มเดียว
จะสามารถป้องกันสายพันธุ์เดลต้า เท่ากับคนที่เคยรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามาแล้ว 2 เข็มในขณะที่วัคซีนซิโนแวค 1 เข็ม และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1 เข็ม
สามารถป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้ดีกว่า ผู้ที่รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม แต่ไม่เทียบเท่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม
วัคซีนสูตรที่ 1
วัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ภูมิขึ้น 80 – 90 เปอร์เซ็นต์ ป้องกันสายพันธุ์อัลฟา แต่ไม่ป้องกันสายพันธุ์เดลต้า
วัคซีนสูตรที่ 2
วัคซีนแอสตราเซเนกา 2 เข็ม ภูมิขึ้น มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ป้องกันสายพันธุ์อัลฟา ป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ระดับสูง
วัคซีนสูตรที่ 3
วัคซีนซิโนแวค 1 เข็ม และวัคซีนแอสตราเซเนกา 1 เข็ม ภูมิขึ้น 75 เปอร์เซ็น ป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ดีกว่าวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม แต่ไม่เท่าวัคซีนแอสตราเซเนกา 2 เข็ม
วัคซีนสูตรที่ 4
วัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม และวัคซีนแอสตราเซเนกา 1 เข็ม ภูมิขึ้น 99 เปอร์เซ็นต์ ป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ระดับสูงสุด
วัคซีนสูตรผสมจากประเทศเวียดนาม
กระทรวงสาธารณสุขประเทศเวียดนามไฟเขียว อนุญาตให้มี การฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อ ได้ คือ วัคซีนเข็มแรกคือ วัคซีนแอสตราเซเนกาและเข็มที่ 2 จะได้รับวัคซีนไฟเซอร์
ซึ่งประเทศเวียดนามเตรียมงบประมาณจับซื้อเรียบร้อย วัคซีนทั้ง 2 เข็ม จะถูกทิ้งให้ฉีดห่างกันประมาณ 8 – 12 สัปดาห์ แต่ในการฉีดแบบสลับยี่ห้อนั้น อยู่กับความยินยอมของผู้เข้ารับวัคซีนด้วย
วัคซีนสูตรผสมประเทศเกาหลีใต้
ในส่วนของประเทศเกาหลีใต้ รัฐบาลเกาหลีใต้ทดลองการจับคู่วัคซีน โดยวัคซีนเข็มที่ 1 เป็นวัคซีนแอสตราเซนเนกาและวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นวัคซีนไฟเซอร์
วัคซีนสูตรผสมรประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ในส่วนของอาหรับเอมิเรตส์นั้น ได้เสนอมว่าให้ประชาชนได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มครบ 2 เข็ม จึงมาใช้วัคซีนไฟเซอร์ ฉีดเป็นเข็มที่ 3 เพื่อ กระตุ้นภูมิ
วัคซีนสูตรผสมประเทศแคนาดา
คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านภูมิคุ้มกันโรคแห่งชาติของแคนาดาแนะนำให้ฉีดวัคซีนแอสตาเซนเนกาเข็มที่ 1 และวัคซีนไฟเซอร์หรือวัคซีนโมเดอร์นาเข็มที่ 2
วัคซีนสูตรผสมประเทศเยอรมนี
คณะกรรมการด้านวัคซีนของประเทศเยอรมนีแนะนำให้คนที่รับวัคซีนแอสตราเซนเนกาเป็นเข็มที่ 1 แล้วควรรับวัคซีนไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาเป็นเข็มที่ 2
เพื่อสู้กับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลต้า เพราะจะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากกว่า การฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกาทั้ง 2 เข็ม
ณ วันที่ 15/7/64 ประเทศไทย ผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่ม 9,186 คน ผู้ป่วยสะสม 343,352 คน เสียชีวิต 98 คน โลกมีประชากร 7.879 พันล้านคน ติดเชื้อสะสมไปแล้ว
188,284,090 คน เสียชีวิตไปแล้ว 4 ล้านกว่าคน ตอนนี้ยังไม่มีตัวยา วัคซีนที่จะป้องกันและรักษาผู้ป่วยคนติดเชื้อได้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว ทุกอย่าง
คือ การรักษาและทดลองควบคู่กันไป เพราะฉะนั้นจงใช้ชีวิตอย่างระวัง อย่าเสี่ยงกับสถานที่สุ่มเสี่ยง อย่ามักง่าย เดินทางไปไหนควรกักตัวเพือดูอาการ
รักชีวิตคนอื่น เหมือนที่รักชีวิตตัวเอง โลกจะได้น่าอยู่ขึ้น
ที่มา :
- PPTVhd36
- ไทยรัฐออนไลน์
- ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
- voathai.com
อย่าพึ่งออกไปเที่ยวไหน แวะไปดูรูปถ่ายที่เที่ยวแก้อยากได้ที่ เพจ ออกเที่ยว-ก่อนที่จะยืนเยี่ยวไม่ไหว