วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
18 สิงหาคมของทุกปี ถือเป็น วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ 2566 คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษกิจและการพัฒนาสังคม
หลาย ๆ โรงเรียนเริ่มสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเด็กปฐมวัย เด็กประถม เด็กมัธยม ในส่วนของโรงเรียนยอแซฟวิทยา
อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีนั้น เด็กปฐมวัยกำลังเข้าฐานเรียนรู้กันแล้ว วันนี้แอดมินจะมาพาเพื่อน ๆ มาดูกิจกรรมสนุก ๆ ให้ความรู้กับเด็ก ๆ กัน
กิจกรรม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ อนุบาลโรงเรียนยอแซฟวิทยา
- กิจกรรมที่ 1 ส้อมเล่นกายกรรม
- ไม่น่าเชื่อว่าส้อม 2 คัน จะวางเกยกันอยู่บนไม้จิ้มฟันอันเล็ก ๆ ได้ ความลับคือ ความสมดุล เมื่อเรานำส้อม 2 คัน ลักษณะ รูปร่าง น้ำหนัก ที่เหมือนและเท่ากัน มาวางต่อกัน แล้วนำไม้จิ้มฟันลงไปเสียบไว้ ระหว่างกลางของส้อม จะเกิดภาวะสมดุลขึ้นนั่นเอง
- กิจกรรมที่ 2 เหรียญเปลี่ยนสี
- เพื่อน ๆ เคยเห็นเหรียญที่มีคราบสีดำ ๆ ติดอยู่กันบ้างมั้ย นั่นคือปฏิกิริยาของโลหะกับออกซิเจนและความชื้นในอากาศ จนเกิดเป็นคราบสีดำ ๆ ขึ้น วิธีง่าย ๆ ที่จะแก้ไขคราบเหล่านี้คือ นำเหลือไปแช่ในน้ำส้มสายชู หรือในน้ำเกลือ ในระยะเวลาหนึ่ง แล้วนำไปล้างน้ำสะอาด
- กิจกรรมที่ 3 เฮลิคอปเตอร์น้อย
- เมื่อทำเฮลิคอปเตอร์กระดาษเสร็จ เด็ก ๆ จะนำไปโยนขึ้นบนฟ้า แรงโน้มถ่วงของโลกนั้นจะทำให้เฮลิคอปเตอร์ค่อย ๆ ล่วงหล่นของมาอย่างช้า ๆ ด้วยลักษณะของเฮลิคอปเตอร์ใบพัดจะหมุนวน ทำให้ตัวเครื่องตกลงช้า และลอยอยู่ในอากาศได้นานกว่าปกติ
- กิจกรรมที่ 4 BUBBLE SNAKE
- ฟองสบู่เกิดจากการเป่าลมผ่านหลอดดูด ลงไปในสารละลายน้ำสบู่ ซึ่งฟองสบู่ที่เกิดขึ้นจะอยู่ได้นานพอสมควรเลยทีเดียว ทำให้สามารถพิจารณาระบวนการไหลของน้ำบริเวณผิวฟองสบู่ได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังสร้างความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และสีสันสายรุ้งที่สวยงามจากฟองสบู่นั้น ทำให้เด็ก ๆ ตื่นตาตื่นใจ อยากเรียนรู้และลงมือปฏิบัติมากเลย
- กิจกรรมที่ 5 ดอกไม้บาน
- เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการดูดซุมน้ำ จนทำให้กระดาษที่พับไว้ค่อย ๆ บานออก เด็ก ๆ ยืนดูด้วยความตื่นตาตื่นใจ เมื่อเห็นดอกไม้ที่ตัวเองระบายสีกับมือบานออกเอง
ประวัติวันวิทยาศาสตร์ แห่งชาติ
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ มีความสำคัญต่อ วงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ รัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสยามเทวมหามงกุฎวิทยามหาราช
ท่านได้ชื่อว่าเป็น พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย เนื่องมาจาก พระองค์ได้ทรงคำนวณเกี่ยวกับเรื่องของ สุริยุปราคาเต็มดวง
ที่จะเกิดขึ้นใน นอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์
ซึ่งรัชกาลที่ 4 ได้คำนวณไว้ล่วงหน้าเป็นเวลาถึง 2 ปีเลยทีเดียว ท่านได้สร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับที่หว้ากอไว้เลยทีเดียว
เพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง พร้อมกันนั้น มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ด้วย
โดยการคำนวณของรัชกาลที่ 4 นั้น ถูกต้องและแม่นยำเป็นอย่างมาก ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติในวันที่ 14 เมษายน 2525
กำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม 2525 เป็นวันวิทยาศาสตร์ และในทุก ๆ วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ได้มีการจัดงานวันวิทยาศาสตร์ขึ้น
โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน ต่อมาปี พ.ศ. 2527 จากการจัดงานเล็ก ๆ ขยายเป็นงานใหญ่ขึ้น กลายเป็นงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
วัตถุประสงค์ของการจัดงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์
- เพื่อเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถ ทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็น”พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
- ส่งเสริมความร่วมมือระหว่าภาครัฐและเอกชนในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประเทศ
- ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
- เสริมสร้างบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิถีทางหนึ่งของการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- สนับสนุนให้กำลังใจและโอกาสแก่นักวิจัย นักประดิษฐ์ ได้แสดงผลงานต่อสาธารณชน
- การจัดงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ นับได้ว่ามีส่วนที่จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนคนไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศให้ เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
สำหรับ วันวิทยาศาสตร์สากล (World Science Day for Peace and Development) องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้ตรงกับวันที่ 10 พฤศจิกายน ของทุกปี
เพื่อสร้างความตระหนักต่อบทบาทสำคัญของวิทยาศาสตร์ในสังคม การนำวิทยาศาสตร์มาเป็นเรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน หรือ สังคม เป็นเป้าหมายสำคัญ
ทุก ๆ อย่างในชีวิตของเรา เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับอาชีพการงาน เครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องใช้ ผลผลิตต่าง ๆ
ที่มนุษย์ใช้ในการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมาก