Latestงานอีเว้นท์

วันสถาปนาลูกเสือ

ตอนแอดมินเป็นเด็กมีวิชาที่ชอบแบบสุด ๆ ไปเลยคือ วิชาลูกเสือ วันนี้เลยจะมาสาธยายเกี่ยวกับ วันสถาปนาลูกเสือ แห่งชาติ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี ให้ฟังกัน

แล้วเพื่อน ๆ ชอบกันมั้ย วิชาลูกเสือ สมัยก่อนตอนแอดมินเป็นเด็กชอบสุด ๆ ไปเลย อยากเรียนลูกเสือทุกวันพฤหัสบดี สนุกนะ ครูสอนอย่างมัน

ได้ร้องเพลง ได้เต้น ได้บำเพ็ญประโยชน์ ได้เรียนรู้การผูกเงื่อน การสร้างเสาธงชาติจำลอง ได้หัดทำอาหาร ทำสวน ฝึกระเบียบแถม แต่มันร้อนชะมัดเลย

ด้วยเครื่องแบบเนตรนารี ชุดสีเขียว ผ้ามันหนาพอสมควรเลยนะ ไหนจะผ้าพันคอ ช่วงเดินทางไกลไม่ต้องพูดถึง เดินไปเดินมา อยากจะเอาผ้าพันคอออก

พอโตต้องย้ายโรงเรียนมาเข้า ม.1 ดันอยู่ห้องคู่ จบเลย ทางโรงเรียนแจ้งไว้ ห้องเลขคู่ต้องเรียนยุวกาชาด เปลี่ยนโรงเรียน เปลี่ยนครูสอน

จากครูพลศึกษาผู้ชาย วัยรุ่น เปลี่ยนมาเป็นอาจารย์ผู้หญิง อายุพอสมควร ทุกบริบทในการเรียนจึงเปลี่ยนไป ไม่ค่อยได้สนุกเหมือนตอนเป็นลูกเสือ – เนตรนารีเลย

วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ 1 กรกฎาคม ของทุกปี วันสำคัญของไทย มาอ่านประวัติ ความสำคัญ และการกำหนดวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติกันเลย

วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ

วันสถาปนาลูกเสือ แห่งชาติ

ประเทศไทยได้มีลูกเสือครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการสถาปนากองเสือป่าขึ้นก่อนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454

สำหรับฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน เพื่อให้ได้เรียนรู้วิชาการด้านทหาร พอเวลาเกิดศึก เกิดสงคราม จะได้มีกำลังสำรองไว้พร้อมรบนั่นเอง

อีกทั้งยังช่วยบำเพ็ญประโยชน์ ไม่ว่าจะช่วยในการปราบปราม จับโจรห้าร้อย ช่วยในการรักษาความสงบของชุมชน ร.6 ทรงเห็นว่าลูกเสือ

น่าจะช่วยให้คนไทยในชาติ รู้จักรักชาติ มีความเสียสละ มีความสามัคคี มีความกตัญญู และรักชาติบ้านเมือง พอ ร.6 ได้เห็นว่ากิจการเสือป่าเจริญก้าวหน้ามั่นคงดีแล้ว

รัชกาลที่ 6 พระองค์ได้จัดตั้งให้มีกองลูกเสือขึ้น ในวันที่ 1 กรกฎาคม ประเทศไทยของเรา จัดตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นประเทศที่ 3 ของโลก

ต่อจากประเทศอังกฤษและสหรัฐฯ ลูกเสือไทยคนแรกคือ “นายชัพน์ บุนนาค” สำหรับในประเทศอังกฤษที่เป็นต้นกำเนิดของลูกเสือโลก

การเดินสวนสนามลูกเสือ

ผู้ที่ก่อตั้งกิจการลูกเสือครั้งแรกคือ ท่านลอร์ดบาเดน เพาเวลล์ (บี.พี.) ชาวอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 ท่านลอร์ด ได้แต่งหนังสือฝึกอบรมลูกเสือขึ้น

เพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน ชื่อเรื่องชื่อว่า “Scouting For Boys” คำว่า Scout ใช้แทน ลูกเสือ นั่นเอง แต่ละตัวอักษรมีความหมายเช่นกัน คือ

S : Sincerity หมายถึง ความจริงใจ มีน้ำใสใจจริงต่อกัน
C : Courtesy หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน เป็นผู้มีมารยาทดี
O : Obedience หมายถึง การเชื่อฟัง อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาท
U : Unity หมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้รักสามัคคี
T : Thrifty หมายถึง ความมัธยัสถ์ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด

ผู้ก่อตั้งลูกเสือไทย

ประเภทของลูกเสือไทย

  • ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 เรียกว่า ลูกเสือสำรอง คติพจน์ คือ ทำดีที่สุด
  • ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 เรียกว่า ลูกเสือสามัญ คติพจน์ คือ จงเตรียมพร้อม
  • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 เรียกว่า ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ คติพจน์ คือ มองไกล
  • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 –  6 เรียกว่า ลูกเสือวิสามัญ คติพจน์ คือ บริการ
  • ลูกเสือชาวบ้าน คติพจน์ เสียชีพ อย่าเสียสัตย์
  • เด็กผู้หญิง เรียกว่าเนตรนารี แบ่งประเภทเหมือนลูกเสือ

1 กรกฎาคม ของทุกปี

รัชกาลที่ 6 ท่านได้ทรงถาปนากิจการลูกเสือไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2454 โดยส่วนใหญ่แล้ว กิจกรรมในวันนี้จะมีการจัดให้มีการเดินสวนสนามของลูกเสือ

บริเวณสนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ ในทุก ๆ ปี โดยจะรวบรวมลูกเสือทั้งในส่วนกลางและส่วนของปริมณฑล มาเดินร่วมสวนสนาม

โดยใช้จำนวนลูกเสือประมาณ 10,000 คน เพื่อแสดความเคารพ พร้อมทั้งกล่าวทบทวนคำปฏิญาณ ต่อองค์พระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาตินั่นเอง