ดราม่าออนไลน์

เรือดำน้ำไททัน

หลังจากที่เราได้เห็น เรือดำน้ำไททัน ที่พานักวิจัย นักเดินทางและกัปตัน รวม 5 ชีวิต ลงไปชมซากเรือไททานิก ที่จมอยู่ใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ตอนแรกแอดมินยังว้าวอยู่เลย

เพราะตอนที่มีภาพยนต์เรื่อง ไททานิก เราไปดูมา 1 รอบในโรงหนังและอีก 3 – 4 รอบทาง TV แอดมินว่าเสน่ห์ของเรือที่จม ความอยากรู้ว่า

ความสวยงามของโลกใต้ทะเล ความอยากค้นหา ทำให้เราอยากลงไป ย้อนกลับไปเมื่อปี 2021 ไททันลำนี้ ได้พาคนลงไปชมซากเรือไททานิคเป็นครั้งแรก

โดยยานดำน้ำลำนี้มีความยาวเพียง 6.7 เมตรเท่านั้น  คนสามารถเข้าไปโดยสารอยู่ได้มากสุดแค่ 5 คน สามารถดำน้ำได้ลึกสุดในระดับ 4,000 เมตร

บรรจุอากาศอยู่ได้ในระยะเวลา 96 ชั่วโมง โดยระบบการบังคับเรือ มีเพียงปุ่มเดียวเท่านั้น สำหรับใครที่อยากจะไปทัวร์ชมซากเรือไททานิคนี้

คุณต้องจ่ายเงินในการดำลงสู่ก้นมหาสมุทรา เป็นเงินคนละประมาณ 8.7 ล้านบาท เรือจะค่อย ๆ พาผู้โดยสารลงสู่ความลึกประมาณ 3,800 เมตร

ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง และจะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นดำลงสู่ก้นทะเลจนถึงขึ้นสู่ผิวน้ำ เป็นเวลา 8 ชั่วโมง โดย CEO ของบริษัทโอเชียนเกต

นายสต็อคตัน รัช ซีอี ได้บอกว่า รุ่นดำน้ำลำนี้ เป็นรุ่นสำหรับทดลอง แน่นอนมันอันตราย แต่สำหรับคนที่ชื่นชอบ หลงใหลในเรือไททานิคนั้น มันเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องทำซักครั้งในชีวิต

คุณจะได้เห็นซากเรือไททานิคที่คุณชื่นชอบนอนนิ่งอยู่ก้นมหาสมุทร พร้อมกับความตื่นเต้นทุกวินาที ว่าจะมีอะไรแหวกว่ายน้ำผ่านไปมาบริเวณนี้บ้าง

เรือดำน้ำไททัน สูญหาย

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา แอดมินได้ทราบข่าวเรื่องเรือดำน้ำลำนี้ได้หายไปอย่างไร้ร่องรอยบริเวณซากเรือไททานิก

นักวิจัย นักเดินทาง และกัปตัน รวม 5 ชีวิต ขาดการติดต่อ ไร้ซึ่งสัญญาณหลัง เรือดำน้ำไททัน ดำดิ่งลงในมหาสมุทรได้เพียง 1 ชั่วโมง 45 นาที

หน่วยกู้ภัยพยายามช่วยกันออกค้นหายานดำน้ำลำดังกล่าวอย่างเต็มที่ เนื่องจากออกซิเจนในเรือมีกำจัด โดยพื้นที่ในการหา ถ้าเทียบขนาดแล้วบริเวณนั้น

ใหญ่กว่าจังหวัดกรุงเทพถึง 10 เท่า ราว ๆ 13,000 ตารางกิโลเมตร โดยคาดว่า เรืออาจจะจมอยู่บริเวณใดสักแห่งใต้มหาสมุทรอันเย็นเฉียบของแอตแลนติกเหนือ

ซึ่งถ้าจมอยู่ใต้ทะเล โอกาศที่จะช่วยเหลือผู้โดยสารและลูกเรือเป็นไปแทบไม่ได้เลย ใต้น้ำลึกระดับ 3,800 เมตร มองอะไรไม่เห็นเลย เพราะมืดสนิท ไหนจะอุณภูมิเย็นจัด

ใต้ก้นทะเลมีลูกคลื่น ไหนพื้นจะเป็นโคลนอีก ความกดดันไปอยู่ที่ออกซิเจนในเรือที่กำลังค่อย ๆ หมดไป ทำให้ทั่วโลกติดตามเฝ้าดูเหตุการณ์นี้ ขอให้มีปฏิหาริย์ อยากให้ทุกคนรอดชีวิต

เรือดำน้ำไททัน ยานดำน้ำไททัน -1

การเดินทางของยานดำน้ำไททัน

เรือวิจัยโพลาร์พรินซ์ จะนำเรือดำน้ำไปส่งยังกลางมหาสมุทร การเดินทางจะเริ่มจากเมืองเซนต์จอห์น์ รัฐนิวฟาวด์แลนด์ จากประเทศแคนาดา

กว่าจะไปถึงซากเรือนั้นมีระยะทางถึง 700 กิโลเมตร เมื่อไปถึงจุดหมายปลายทาง โพลาร์พรินซ์จะปล่อยให้ไททันลงสู่ก้นทะเล ใช้เวลาในการสำรวจ

ตั้งแต่ต้นจนจบประมาณ 8 ชั่วโมง การเดินทางเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2566 เพื่อออกเดินทางจาก นิวฟาวด์ไปสู่ก้นมหาสมุทร

ทริปนี้ประกอบไปด้วยผู้โดยสารจำนวน 5 คน รวมกัปตันยานดำน้ำด้วย ได้แก่ นายฮามิล ฮาร์ดิง นักธุรกิจและนักสำรวจ อายุ 58 ปี ชาวอังกฤษ,

นายชาห์ซาดา ดาวู้ด นักธุรกิจ อายุ 48ปี ชาวอังกฤษ, นายสุเลมาน ดาวู้ด นักศึกษา อายุ 19 ปี ชาวอังกฤษ, นายพอล – อองรี นาร์โจเลต

นักสำรวจ อายุ 77 ปี ชาวฝรั่งเศส เจ้าของฉายา มิสเตอร์ไททานิค (Mr.Titanic) และผู้บริหารของโอเชียนเกต นายสต็อกตัน รัช อายุ 61 ปี

ยานดำน้ำไททัน

หน่วยยามฝั่งของประเทศสหรัฐฯ ได้แจ้งว่า ไททันนั้นได้เริ่มดำน้ำช่วง 6.00 – 7.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 18.00 – 19.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

เวลาผ่านไปไททันขาดการติดต่อกับเรือโพลาร์พรินซ์ หลังจากนั้น 14.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 02.00 น. ของประเทศไทย) ไททันไม่ลอยขึ้นมาสู่ผิวน้ำ

16.40 น. (ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 04.40 น. วันที่ 19 มิถุนายน 66 ของประเทศไทย) หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ได้รับแจ้ง ยืนยันว่าไททันสูญหาย

ทั้งฝั่งแคนนาดาและสหรัฐฯ ได้เริ่มปฏิบัติการค้นหา ไม่ว่าจะเป็นทางเรือ ทางเครื่องบิน และทุ่นโซนาร์ วันที่ 20 – 21 มิถุนายน ได้ตรวจพบเสียงจากใต้น้ำ

หลังจากนั้น 05.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นซึ่งตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน เวลา 17.00 น. ของประเทศไทย) ออกซิเจนของ เรือดำน้ำไททัน กำลังจะหมดลง

ล่าสุดนั้น ยานใต้น้ำแบบอาร์โอวี (ROV) พบชิ้นส่วนของไททันชิ้นแรกแล้ว ห่างจากบริเวณหัวเรือไททานิค 487 เมตร หลังจากนั้นพบอีก 5 ชิ้นส่วน

ได้แก่ แท่นลงจอด กรวยหางเรือดำน้ำและส่วนของช่องหน้าต่างด้านหน้าเรือ คาดว่าน่าจะเป็นผลจาก การถูกบีบอัดรุนแรงเฉียบพลัน

ผู้โดยสารทั้ง 5 คน เสียชีวิตทั้งหมด อาจจะค้นหาร่างของผู้เสียชีวิตไม่พบ เนื่องจากอุปสรรคจากสภาพแวดล้อม แอดมินขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ด้วย