สุขภาพเรื่องเด่น

โรคที่มากับหน้าฝน รู้ทันป้องกันได้

โรคที่มากับหน้าฝน ช่วงนี้เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ ก่อนหน้านี้ฝนตกนิด ๆ หน่อย ๆ ในพื้นที่จันทบุรี (บ้านเรา) ตอนนี้ใกล้เข้าพรรษาไปเท่าไหร่

ฝนยิ่งตกกระหน่ำมากขึ้น คนที่บ้านเริ่มมีไอ จาม น้ำมูก ด้วยความที่ตัวเราเองไม่ค่อยแข็งแรงอยู่แล้วด้วย ไหนจะอาการของโรคภูมิแพ้ น้ำมูกบ้าง ไอบ้าง

ปัญหาเรื่องอาการเจ็บไข้ได้ป่วยเลยมาเป็นระยะ ๆ แถมช่วงนี้ควรต้องระวังปัญหาเรื่องสุขภาพให้มากขึ้น อากาศร้อนชื้น เหมาะกับการแพร่กระจายของเชื้อมากเลย

โรคที่มากับหน้าฝน โรคฮิตฤดูฝน

โรคที่มากับหน้าฝน

อากาศในฤดูฝน ไม่ใช่แค่หนาว ๆ เย็น ๆ ธรรมดา มันมีเรื่องของความชื้นในอากาศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้โรคหลายชนิดสามารถแพร่กระจาย

ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งล้วนแต่เป็นโรคติดต่อแทบทั้งนั้น ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในฤดูนี้ โรคฮิตหน้าฝน มีทั้งสิ้น 5 กลุ่มใหญ่ ๆ  ดังนี้

1.กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร

ส่วนใหญ่จะเกิดจากการทานอาหาร มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพ ได้แก่ อาหารเป็นพิษ โรคอุจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์

รวมไปถึงโรคติดเชื้อทางเดินอาหารจากไวรัสโรต้า ที่มักเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่มีอาการรนแรงในเด็กเล็กมากกว่า

อาการที่มักพบคือ ปวดท้อง ถ่ายเหลว เบื่ออาหาร บางคนมีอาการตัวร้อนไข้สูง อาเจียนทานอะไรไม่ได้ และจะมีภาวะขาดน้ำตามมา

โรคนี้เชื้อกระจายตัวเร็ว เชื้อทนต่อสภาพสิ่งแวดล้อมได้เป็นสัปดาห์ถึงเป็นเดือน ควรรักษาความสะอาด สุขอนามัยของตัวเองให้ดี

หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ล้างให้สะอาดก่อนจะไปทานอาหาร หรือหลังจากเข้าห้องน้ำ ควรทานอาหารร้อน ๆ ปรุงสุกใหม่ ไม่มีแมลงวันตอม

กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร โรคที่มากับฤดูฝน

2.กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง

ชื่อยาว ๆ อาจจะไม่เข้าใจ ถ้าเราบอกว่า โรคไข้ฉี่หนู หลาย ๆ คนต้องอ๋อทันดี ชื่อแบบทางการแพทย์คือ โรคแลปโตสไปโรซิส

เป็นโรคมาตอนหน้าน้ำท่วม น้ำรอการระบาย ตอนนี้เปลี่ยน ผู้ว่าฯ กทม. แล้ว อาจารย์ชัชชาติ ผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี คงไม่ยอม

ให้น้ำท่วมกรุงแน่นอน (ชาวบ้านต่างจังหวัดต้องลุ้นกันต่อไป) ตัวการสำคัญนำเชื้อนี้มาสู่คน นั้นคือ “หนู” นั่นเอง ฟาร์มเลี้ยงสัตว์

พวกน้องวัว น้องหมู ตามสวน ตามไร่นา โรงฆ่าสัตว์ จะพบเจอหนูได้เยอะกว่าปกติ จึงต้องระวังให้มาก โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนชนิดหนึ่ง

เกิดขึ้นได้ทั้งในคนและในสัตว์ สาเหตุมาจากการไปสัมผัส น้ำ ดิน อาหารที่มีการปนเปื้อน ฉี่ เลือด ของสัตว์ที่มีเชื้อ ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อ

ไม่ค่อยมีอาการรุนแรง พบ 10-15% เท่านั้นจะมีอาการรุนแรง อาการทั่ว ๆ ไปคล้ายโรคหวัดใหญ่ ปวดศีรษะ มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้

อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บช่องท้อง ไม่อยากอาหาร ถ้ารุนแรงอาจจะมี อาการเจ็บหน้าอก ดีซ่าน หายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย

หัวใจเต้นผิดจังหวะ พบอาการไอเป็นเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือสมองอักเสบ คลื่นไส้ ชัก เป็นต้น สังเกตอาการและรีบไปหาหมอทันที

3.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ

โรคกลุ่มนี้พบบ่อย พบเยอะมาก ไม่ว่าจะที่ทำงาน หรือในโรงเรียน ช่วงหน้าฝนนี้คือ ช่วงพบเจอคนป่วยเยอะสุด ไหนจะ คออักเสบ ไอ

หลอดลมอักเสบ ปอดบวม โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ ทั้งสายพันธุ์เก่าและสายพันธุ์ใหม่ อย่าง H1N1 ไหนจะไข้หวัดนกอีก นี่ยังไม่รวมกับข่าวที่ว่า

โควิด -19 จะกลับมาระบาดหนักอีกในช่วงเดือนกันยายน 65 นี้อีกด้วย ฤดูนี้ต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้ดี บางคนพึ่งสมุนไพรอย่าง ขิง ฟ้าทะลายโจน

มะกรูด กระชาย นำมาทำเป็นน้ำต้มสมุนไพรกันไป สำหรับเด็ก ๆ นั้นจะพบ โรคระบบทางเดินหายใจในเด็ก หรือ RSV เป็นโรคที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้นได้  ทำความสะอาดบ้านทุกวัน เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ ไม่ใช่สิ่งของร่วมกัน โดยเฉพาะแก้วน้ำ

กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ โรคฮิตหน้าฝน โรคที่มากับฤดูฝน

4.กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ที่สำคัญ 3 โรค ได้แก่

1. ไข้เลือดออก โรคนี้พาหะนำโรคคือ “ยุงลาย” นั่นเอง เพราะมีแอ่งน้ำขังตามที่อับชื้น แสงสว่างน้อย หรือตามพุ่มไม้ที่ชื้นแฉะ ร้อนชื้น

เป็นอากาศเหมาะให้ยุงได้ฟักไข่ ผู้ป่วยในช่วงแรกจะมีอาการเหมือนคนเป็นไข้ทั่วไป ปวดหัว ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ไข้สูงอยู่ประมาณ 2 – 7 วัน

หลังจากนั้นไข้จะค่อย ๆ ลดลง มาพร้อมกับอาการจ้ำเลือดหรือจุดเลือดตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกบริเวณอื่นได้ เช่น เลือดกำเดาไหล

เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะหรืออุจจาระมีเลือดปน อุจจาระมีสีดำคล้ำ ในบางคนมีอาการรุนแรงมากมีภาวะช็อก เรารับมือและป้องกันได้

ด้วยวิธีง่าย ๆ โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายแถวบ้านและข้างบ้าน ปิดฝาโอ่ง ปิดฝาถังน้ำ ไม่ให้มีน้ำขัง ยุงจะได้วางไข่ไม่ได้ นั่นเอง

Dengue fever โรคไข้เลือดออก ไข้เลือดออก

2. ไข้สมองอักเสบเจอี ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า Japanese Encephalitis พาหะนำโรคคือ “ยุงรำคาญ”  ยุงประเภทนี้ วางไข่ในน้ำนิ่ง

ในทุ่งนา ในท่อระบายน้ำ ออกหากินตอนกลางคืน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดหัว อาเจียน มีไข้ โดย 1 ใน 250 – 300 คนเท่านั้นที่จะมีอาการรุนแกรง

ของอาการสมองอักเสบ โดย 3 – 4 วันแรกจะมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดทั่วไป มีไข้ ปวดหัว ท้องเสีย หลังจากนั้นจะเริ่มซึม่ลง มีอาการชักร่วมด้วย

และเกิดความผิดปกติกับระบบประสาทได้ ดังนั้นเมื่อเกิดอาการเริ่มต้นในช่วงแรก ๆ รู้สึกอาการไม่ดี ต้องรีบไปพบหมอให้เร็วที่สุด อย่าปล่อยไว้จนรุนแรง

Japanese Encephalitis โรคไข้สมองอักเสบ โรคฮิตฤดูฝน โรคที่มากับหน้าฝน

3.โรคมาลาเรีย เป็นโรคอันตรายร้ายแรงมาก พาหะของโรคนี้คือ “ยุงก้นปล่อง” ที่มีเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม ยุงชนิดนี้ชอบวางไข่ในน้ำใส ไหลเอื่อย ๆ

ต้องเป็นน้ำสะอาด หรือ ลำธาร น้ำตก คนสมัยก่อนไปล่าสัตว์ ไปตั้งแคมป์ในป่า พอกลับบ้านมาเป็นไข้ป่าตายก็มี นี่แหละคือโรคมาลาเรีย ใครที่โดนยุงก้นปล่อง

ที่มีเชื้อกัด 10 – 14 วัน หลังจากนั้นจะเริ่มป่วย ไม่สบาย ปวดหัว เมื่อยตัว คล้ายกับเป็นไข้หวัดใหญ่ แต่ต่อมาจะมีอาการที่เรียกว่า “ไข้จับสั่น” เริ่มจากมีอาการ

ไข้ขึ้นจนหนาวสั้น ผิวซีด พอไข้ขึ้นสูงมาก ๆ คนป่วยจะเริ่มรู้สึกร้อน กระสับกระส่าย เพ้อ หิวน้ำตลอด ผิวจะแห้ง แดง หลังจากนั้นจะมีเหงื่อออก ไข้จะเริ่มลดลง

ผู้ป่ายจะอ่อนเพลียอย่างมาก ถ้าเป็นชนิดรุนแรง อาจมีอาการไตวาย ตับอักเสบ รวมถึงมีความผิดปกติทางสมอง เรียกว่า มาลาเรียขึ้นสมองได้

โรคมาลาเรีย malaria ยุงก้นปล่อง

5.โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง

โรคที่มากับหน้าฝน อีก 1 โรค คงหนีไม่พ้น “โรคตาแดง” โรคนี้ระบายเป็นช่วง ๆ ของทุกปี โดยเฉพาะในฤดูฝน ติดต่อกันได้ง่ายและเร็วอีกด้วย

หลังจากรับเชื้อมา 1 – 2 วัน เราจะเห็นตาเป็นสีแดง มีอาการเคืองตา แสบตา น้ำตาไหล ตาบวม โดยส่วนใหญ่จะเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน

แล้วถึงจะลามไปที่ตาอีกข้าง บางคนมีอาการแทรกซ้อน ทำให้กระจกตาอักเสบได้ ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรงมากนัก หายเองได้ภายใน 1-2 วัน

โรคตาแดง เยื่อบุตาอักเสบ โรคฮิตหน้าฝน โรคที่มากับหน้าฝน

 

นอกจากนี้ยังมีอีก 1 โรค ที่หลาย ๆ คนกำลังเป็นอยู่ นั่นคือ โรคน้ำกัดเท้า เกิดจากการแช่น้ำสกปรกนาน ๆ เชื้อราจะทำให้ผิวหนังเรากลายเป็นผื่นแดง

พอคันมาก ๆ เราเกาแรงไปจะทำให้แผลมีน้ำเหลือง ดังนั้นถ้าเราไปเจอน้ำขัง น้ำท่อ เดินลุยน้ำสกปรกมา รีบกลับมาแล้วควรล้างเท้าทันที ด้วยน้ำสะอาด

และฟอกสบู่ เช็ดเท้าให้แห้ง มิฉะนั้นล่ะก็ ฮ่องกงฟุต จะรับประทานเท้าเราเอาได้ นอกจากนี้ยังต้องระวังในเรื่องของสัตว์เลื้อยคลานอย่าง ตะขาบ งู แมงป่อง

พวกนี้เค้าจะหนีน้ำมาหาที่อยู่ ให้ระวังไว้เลย เวลาจะใส่รองเท้าผ้าใบ ควรเคาะรองเท้าก่อนใส่ด้วย นอกจากโรคภัยแล้ว เรามีภัยจากพิษสัตว์อีกที่ควรระวัง

รักษาสุขภาพให้ดี ออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นล้างมือ รักษาความสะอาด จะได้ไม่ป่วย ด้วยความปรารถนาดีจาก แม่หมีอุมา เองจ้า