พาเที่ยว

วัดตะปอนใหญ่ จันทบุรี วัดโบราณเก่าแก่ ประเพณี ชักเย่อเกวียนผ้าพระบาท

วันนี้เข้าตำรา อิป้าพาเที่ยว อีกแล้ว ไปจ๊ะ อิป้าแม่หมีจะพาเข้าไปชมความงามของ วัดตะปอนใหญ่ กันซึ่ง เป็น 1 ใน 6 วัดของ เส้นทางวัฒนธรรมเมืองเพนียด สู่ขลุงบุรี

ได้แก่ วัดทองทั่ว วัดตะปอนน้อย วัดคานรูด วัดเกวียนหัก และวัดวันยาวบน จำได้กันรึป่าว อะไรคือ เมืองเพนียด แม่หมีเคยเล่าให้ฟังไปใน ในตอน

วัดตะปอนน้อย ถ้าใครยังไม่ได้ดูเรื่องวัดตะปอนน้อย ให้กดลิ้งค์ด้านล้าง แวะไปอ่านก่อนได้นะ ในส่วนของวันนี้ ตามอิป้าแม่หมีไปชมอีก 1 วัด กันเถอะทุกคน

ประวัติความเป็นมาของ วัดตะปอนใหญ่

แม่หมีจะเล่าคร่าว ๆ ให้เพื่อน ๆ ทุกคนฟังกันนะ วัดนี้เป็น วัดที่มีประวัติศาสตร์สำคัญอีก 1 แห่ง ของจังหวัดจันทบุรี  ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายโน้นแหละ

Wat Tapon Yai วัดตะปอนใหญ่ วัดจังหวัดจันทบุรี Wat Chanthaburi

ช่วงปี พ.ศ. 2290 เดิมทีวัดแห่งนี้ มีชื่อว่า วัดโพธิธาราม สาเหตุมาจากต้นโพธิ์ใหญ่ที่ปกคลุมเจดีย์เก่าของวัดนี่แหละ แต่พอภายหลังจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดตะปอนใหญ่ นี่แหละ

คำว่า ตะปอน น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า ตะโพง วัดแห่งนี้มี พระอุโบสถหลังเก่า ที่ถูกสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 2355 ในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเลย และเมื่อปี พ.ศ. 2455 ได้ทำการ

บูรณะครั้งใหญ่อีกครั้ง พระอุโบสถเก่า ก่ออิฐถือปูนทรงโรง หลังคาเครื่องไม้มุง ซึ่งภายในมีหลวงพ่อสัมฤทธิ์ผล ประดิษฐานอยู่ ซึ่งพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ภายในวัดมีการ

ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ 3 รายการคือ หีบพระธรรมไม้ศิลปะรัตนโกสินทร์ ตู้พระธรรมไม้ศิลปะรัตนโกสินทร์ และธรรมมาสน์ไม้ลงรักปิดทองศิลปะรัตนโกสินทร์ โดยปัจจุบัน

พระอุโบสถ  ยังคงถูกอนุรักษ์ให้คงอยู่ในสภาพเดิม เสียดายวันที่แม่หมีไป อุโบสถเก่าไม่เปิดให้เข้าชม ได้แต่ยื่นหน้าผ่านหน้าต่างเข้าไปดูความสวยงามด้านในแบบเสียดายจัง

ใบเสมา วัดตะปอนใหญ่ วัดในเมืองเพนียด

ประวัติหลวงพ่อเพชร อินฺทปัญโญ อดีตเจ้าอาวาส วัดตะปอนใหญ่ จันทบุรี

ประวัติของ หลวงพ่อเพชร ท่านมีน้อย เนื่องจากไม่ค่อยได้มีการจดบันทึกไว้มากนัก แต่คนเก่า คนแก่เล่าสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่น เมื่อท่านอายุได้ 20 ปี ท่านได้รับการอุปสมบทที่วัดแห่งนี้

ด้วยฉายา อินทปัญโญ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอุปัชฌาย์ของท่าน และฝึกฝนปฏิบัติกรรมฐาน พร้อมวิชาควาารู้เกี่ยวกับเรื่องเวทต่าง ๆ ในสมัยนั้น เพื่อน ๆ หลายคนอาจจะ

สงสัย “เวท” มีจริงหรือ เรื่องนี้เราพิสูจน์กันได้ยาก เหมือน “ผี” มีจริงไหม นั่นแหละ คนที่ไม่เคยเห็นจะบอกว่า โกหก ไม่มีจริง คนที่คิดว่าเห็น จะบอกว่าจริง มันมีจริง ๆ เรื่องนี้ให้ฟังไว้

เป็นไปตามความเชื่อส่วนตัวบุคคลละกันเน๊อะเพื่อน ๆ หลังจากท่านได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ พอสมควรแล้ว ท่านจึงได้กราบลาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่าน ไปธุดงค์ตามสถานที่ต่าง ๆ

เมื่อเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ของ วัดตะปอนใหญ่ มรณภาพลง หลวงพ่อเพชรจึงได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นรูปที่ 4 ของวัดแห่งนี้ ซึ่งท่านเป็นพระคณาจารย์เก่าที่มีชื่อเสียงในจังหวัด

จันทบุรีในอดีต และท่านยังเป็นพระสงฆ์ผู้คงวัตรปฏิบัติดีงาม มีชาวบ้านทั่วสารทิศให้ความเคารพและเลื่อมใสหลวงพ่อเพชรเป็นจำนวนมาก

หอระฆัง วัดตะปอนใหญ่ tourist Chanthaburi

ตลาดโบราณ 270 ปี ของดีบ้านตะปอนใหญ่ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

ก่อนหน้าที่จะมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายในบริเวณ วัดตะปอนใหญ่ ซึ่งเป็นตลาดชุมชนพื้นบ้านแท้ ๆ เลยนะ แม่หมีเคยไปมาครั้งหนึ่ง ซึ่งตลาดแห่งนี้เกิดขึ้นได้เพราะ

ความร่วมมือระหว่างวัด บ้าน โรงเรียน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นขายเฉพาะพืชผัก อาหารพื้นบ้าน ซึ่งเป็นพ่อค้าแม่ค้าในชุมชนมาขายเองเลย ไม่ใช่จัดเป็นตลาดนัด

ที่ใครจะเข้ามาขายเอง แบบนั้นไม่ใช่นะ เค้ามีเอกลัษณ์ของตลาดนัดด้วย พ่อค้าแม่ขายจะต้องแต่งตัวธีมชุดไทย ร้านค้าใช้วัสดุธรรมชาติ รวมไปถึงการบรรจุอาหาร

จะใช้พวกกระทงใบตอง กระบอกน้ำจากไม้ไผ่ หรือลูกกะลามะพร้าว ไม่ใช้โฟม เลี่ยงการใช้ถุงพลาสติก แบบยากาศน่ารักมาก ลูกเด็กเล็กแดงใส่ชุดไทย โจงกระเบน

เสื้อคอกระเช้า มวยผมเหน็บดอกไม้ ตอนนั้นนะ ใครที่ไม่เคยไปตลาดโบราณถือว่าเชยมากเลย ทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวต่างแวะเวียนมาเที่ยวตลอด ถือว่าเป็น

จุดเช็คอินอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดจันทบุรีเชียว ถ้าเพื่อน ๆ มาเที่ยวจันทบุรีอาหารคาวขึ้นชื่อ 1 อย่าง ที่ต้องซื้อทานและติดไม้ติดมือไปฝากคนที่บ้าน คือ หมูชะมวงย่าง นั่นเอง

ส่วนขนมไทยที่ชื่อแปลก ๆ ที่นักท่องเที่ยวเห็นป้ายชื่อแล้วต้องยืนอมยิ้ม เขิน ๆ อาย ๆ อยู่หน้าร้าน กว่าจะสั่งได้นั่นคือ ขนมควยลิง นั่งเอง  ตอนนี้ก็กลายเป็นขนมที่

ใครไป ใครมาจังหวัดจันทบุรี ต้องแวะหาซื้อทาน เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว ผสมกับมันม่วงนึ่ง โรยหน้าด้วยน้ำตาลทรายกับมะพร้ามทึนทึก แม่หมีไม่ได้ทะลึ่งนะทุกคน

อย่าคิดมากกันนะ มันเป็นชื่อของขนมไทยนี้ มีชื่อแบบนี้จริง ๆ  การทำตลาดโบราณ 270 ปี ที่ ของที่นี้ ซึ่งถือว่า เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนอีกช่องทางหนึ่งด้วย รวมไปถึง

เป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวให้แก่จังหวัดไปในตัว อยากให้หมดโควิดไว ๆ จังเลย อยากให้ได้วัคซีนมาฉีดให้ทุกคนมีภูมิกันไว ๆ จังเลย ประเทศจะได้กลับมาคึกคักเหมือนเดิม

ขนมควยลิง ขนมพื้นเมืองจังหวัดจันทบุรี ขนมชื่อแปลก

เที่ยวชมประเพณีโบราณ ชักเย่อเกวียนผ้าพระบาท ประเพณีหนึ่งเดียวในไทย

เป็นประเพณีที่เป็นไฮไลต์เลยก็ว่าได้ นั่นคือ  ประเพณีชักเย่อเกวียนพระบาท ต้องย้อนเวลากลับไปก่อนเกิดโควิด-19 ระบาด เทศกาลสงกรานต์ในทุก ๆ ปี จะมี

งานบุญประเพณีโบราณของวัดตะปอนน้อยและวัดตะปอนใหญ่ แม่หมีฟังเรื่องเล่ามาละะ จะเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังกัน ตามเรื่องที่เล่าต่อกันมานั้น สมัยก่อนโน้นถ้าเกิดเหตุเภทภัย

โรคระบาดต่าง ๆ ชาวบ้านชาวช่องจะนำผ้าที่มีรอยพระบาทพระพุทธเจ้าประทับอยู่ นำมาใส่ในเกวียน จัดตกแต่งเกวียนให้สวยงาม แล้วตั้งขบวนแห่ไปรอบหมู่บ้าน เป็นความเชื่อ

ให้ช่วยปัดเป่าปัญหาต่าง ๆ ให้จางหาย หรือเบาบางลง ใครเจ็บใครป่วยจะได้หาย และเนื่องจากผ้าพระบาทนี้ มีอยู่เพียงผืนเดียว ดังนั้นจึงเกิดประเพณีชักเย่อขึ้น ถ้าหมู่บ้านไหน

ดึงชนะ จะได้ผ้าพระบาทไปทำงานบุญก่อน จึงกลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาร่วมร้อยกว่าปีแล้ว ประเพณีนี้ก่อนหน้านี้จะจัดที่วัดตะปอนน้อย แต่ด้วยสถานที่อาจจะคับแคบ

จึงเปลี่ยนมาจัดที่ วัดตะปอนใหญ่ แทน และจะจัดขึ้นในทุกวันที่ 17 เมษายน ของทุกปี แม่หมีไม่มีโอกาสได้ไปงานนี้เลย เสียดายจริง ๆ มารู้อีกที ตอนเพื่อนเล่าให้ฟัง

และดันมีโควิดระบาดพอดี ไม่งั้นนะ ปีนี้แม่หมีจะพาทัวร์หลายที่เลย เพราะนอกจากเที่ยวชมประเพณีโบราณ ไหนจะตลาดย้อนยุค ถ้ามาช่วงสงกรานต์จะตรงกับหน้าผลไม้

เมืองจันทบุรีด้วย โดยสวนต่าง ๆ จะมีการเปิดให้เข้าไปชมและกินผลไม้ในสวนได้ด้วย แบบบุฟเฟ่จ่ายเป็นรายหัว กินกันจุก ๆ ไปเลย รอหมดโควิดก่อน จะพาทัวร์ให้ทั่วเลย

บริเวณวัดตะปอนใหญ่ วัดสวยในจังหวัดจันทบุรี

อย่างที่เพื่อน ๆ ทราบกันดี ช่วงนี้สถานการณ์ยังไม่ปลอดภัยใด ๆ ทั้งสิ้น ควรเว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อย ๆ ใส่แมส ใส่หน้ากากอนามัย เพื่อความปลอยภัยของทุกคน

รอบหน้าอิป้าแม่หมี จะพาไปดูวัดสวย ๆ ที่ไหนอีกติดตามกันด้วยนะ และฝากแวะมาชมรูปภาพ หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ เพจ ออกเที่ยว-ก่อนที่จะยืนเยี่ยวไม่ไหว

แผนที่วัดตะปอนใหญ่